วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

กีฬาสีค่ะ

อาทิตย์นี้ทั้งอาทิตย์สบายมากๆค่ะ
ได้เป็นการผ่อนคลายจากการเรียน
นั้นก็คือ....
กีฬาสี..นั้นเอง
มีกิจกรรมต่างๆมากมายให้ทำ
ไม่ว่าจะแข่งกีฬา
เต้นแอโรบิคหรือซ้อมเชียร์ต่างๆ
แถมยังเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์
ระหว่างเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆเลือดกรมท่าขาวของพวกเรา
ส่วนตัวของข้าพเจ้านั้น
ได้ลงแข่งฟุตบอลหญิงรุ่นรวมหญิง
ได้ลงแข่ง2นัด
นัดแรกไม่อยากจะกล่าวถึง...?
ส่วนนัดที่ 2 แพ้ยิงจุดโทษ
เลยต้องตกรอบไปตามระเบียบค่ะ
สีเหลืง........สู้ๆๆ.......ที่สุดแล้วค่ะ

วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เรื่องย่อนิทานเวตาล

เรื่องย่อนิทานเวตาล

ณ ฝั่งแม่น้ำโคทาวรี มีพระมหานครแห่งหนึ่งตั้งอยู่นามว่า
ประดิษฐาน ที่เมืองนี้ในสมัยบรรพกาลมีพระราชาธิบดีองค์หนึ่ง
ทรงนามว่า ตริวิกรมเสน ได้ครองราไชศวรรย์มาด้วยความผาสุก
พระองค์เป็นราชโอรสของพระเจ้าวิกรมเสนผู้ทรงเดชานุภาพเทียมท้าววัชรินทร์
ต่อมาได้มีนักบวชชื่อ ศานติศีล ได้นำผลไม้มาถวายทุกวันมิได้ขาด

ซึ่งพระราชาแปลกใจ และได้ไปพบในคืนหนึ่งตามนัด ได้ถามถึงเหตุผล
และเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ โยคีศานติศีลจอมเจ้าเล่ห์ได้ขอให้พระราชาตริวิกรมเสน
นำเวตาลมาให้ตนเพื่อจะประกอบมหายัญพิธี
พระราชาผู้มีสัจจะเป็นมั่น ได้ไปนำเวตาลมาให้โยคีเจ้าเล่ห์

แต่เวตาลก็พยายามหน่วงเหนี่ยวด้วยการเล่านิทานทั้งสิ้น ๒๔ เรื่องด้วยกัน
ซึ่งแต่ละเรื่องจะมีคำถามให้พระราชาตอบ โดยมีข้อแม้ว่า หากพระราชาทราบคำตอบแล้ว
ไม่ตอบ ศีรษะของพระราชาจะต้องหลุดจากบ่า และหากพระราชาเอ่ยปากพูด
เวตาลก็จะกลับไปสู่ที่เดิม
และก็เป็นดังนั้นทุกครั้ง ที่พระราชาตอบคำถามของเวตาล

เวตาลก็จะหายกลับไปสู่ต้นไม้ที่สิงที่เดิม พระราชาก็จะเสด็จกลับไปเอาตัวเวตาลทุกครั้งไป
จนเรื่องสุดท้ายพระราชาไม่ทราบคำตอบ ก็ทรงเงียบไม่พูด เวตาลพอใจในตัวพระราชามาก
เพราะเป็นพระราชาผู้ไม่ย่อท้อ ผู้มีความกล้าหาญ ทำให้เวตาลบอกความจริง
ในความคิดของโยคีเจ้าเล่ห์ ว่าโยคีนั้นแท้จริงแล้ว ต้องการตำแหน่งราชาแห่งวิทยาธร
โดยจะเอาพระราชาเป็นเครื่องสังเวยในการทำพิธี และอธิบายถึงวิธีกำจัดโยคีเจ้าเล่ห์
เมื่อพระราชาเสด็จมาถึงโยคีตามที่นัดหมายไว้ ก็ปรากฎว่าโยคี

ได้เตรียมการทำอย่างที่เวตาลได้บอกกับพระราชาไว้ พระราชาจึงแก้โดยทำตาม
ที่เวตาลได้อธิบายให้พระราชาฟัง พระราชาจึงได้ตำแหน่งราชาแห่งวิทยาธร
และเวตาลได้บอกกับพระราชาตริวิกรมเสนว่า "ตำแหน่งนี้ได้มาเพราะ
ความดีของพระองค์ ตำแหน่งนี้จะคอยพระองค์อยู่หลังจากที่ทรงเสวยสุข
ในโลกมนุษย์จนสิ้นอายุขัยแล้ว ข้าขอโทษในกาลที่แล้วมาในการที่ยั่วยวน
ประสาทพระองค์ แต่ก็ไม่ทรงถือโกรธต่อข้า บัดนี้ข้าจะถวายพรแก่พระองค์
ขอทรงเลือกอะไรก็ได้ตามใจปรารถนาเถิด" พระราชาก็ตรัสว่า
"เพราะเหตุที่เจ้ายินดีต่อข้า และข้าก็ยินดีในความมีน้ำใจของเจ้าเช่นเดียวกัน
พรอันใดที่ข้าจะปรารถนาก็เป็นอันสมบูรณ์แล้ว ข้าเพียงแต่อยากจะ
ขออะไรสักอย่างเป็นที่ระลึกระหว่างข้ากับเจ้า นั่นก็คือนิทานที่เจ้ายก
ปัญหามาถามข้าถึงยี่สิบสี่เรื่อง และคำตอบของข้าก็ให้ไปแล้วเช่นเดียวกัน
แลครั้งที่ยี่สิบห้าคือวันนี้ถือเป็นบทสรุป แสดงอวสานของเรื่อง
ขอให้นิทานชุดนี้จงมีเกียรติแพร่กำจายไปในโลกกว้าง”
เวตาลก็สนองตอบว่า “ขอจงสำเร็จ โอ ราชะ บัดนี้จงฟังเถิด

ข้าจะกล่าวถึงคุณสมบัติที่ดีเด่นของนิทานชุดนี้ สร้อยนิทานอันร้อยรัดเข้า
ด้วยกันดังสร้อยมณีสายนี้ ประกอบด้วยยี่สิบสี่เรื่องเบื้องต้น แลมาถึงบทที่ยี่สิบห้า
อันเป็นบทสรุปส่งท้าย นับเป็นปริโยสาน นิทานชุดนี้จงเป็นที่รู้จักกันในนามของ
เวตาลปัญจวิงศติ (นิทานยี่สิบห้าเรื่องของเวตาล) จงมีเกียรติยศบันลือไปในโลก
และนำความเจริญมาสู่ผู้อ่านทุกคน ใครก็ตามที่อ่านหนังสือแม้แต่โศลกเดียว
หรือเป็นผู้ฟังเขาอ่านก็เช่นเดียวกัน จักรอดจากคำสาปทั้งมวล บรรดาอมนุษย์ทั้งหลาย
มียักษ์ เวตาล กุษมาณฑ์ แม่มด หมอผีและรากษส ตลอดจนสัตว์โลกประเภทเดียวกันนี้
จงสิ้นฤทธิ์เดชเมื่อได้ยินใครอ่านนิทาน อันศักดิ์สิทธิ์นี้”
พระศิวะได้ฟังเรื่องของต่าง ๆ ของเวตาลจบก็กล่าวชื่นชมในองค์

พระราชาตริวิเสนมาก ซึ่งพระศิวะได้สร้างจากอนุภาคโดยให้มาปราบอสูรคนร้ายต่าง ๆ
เมื่อพระราชาตริวิกรมเสนได้เป็นจอมราชันแห่งวิทยาธรทั้งโลกและสวรรค์แล้ว
ก็เกิดความเบื่อหน่าย หันไปบำเพ็ญทางธรรมจนบรรลุความหลุดพ้น

ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควาย
วิ่งควาย เป็นประเพณีเก่าแก่ดั้งเดิมของจังหวัดชลบุรีมีอยู่แห่งเดียวในเมืองไทย
เมื่อใกล้เทศกาลออกพรรษาครั้งใดก็แสดงว่าช่วงเวลาแห่งการไถหว่านได้ผ่านพ้นไปแล้ว
ถึงเวลาที่บรรดาชาวไร่ชาวนาจะได้มีโอกาสหยุดพักผ่อน เพื่อรอคอยเวลาที่ผลผลิต
จะตกดอกออกรวงและก็เป็นเวลาที่วัวควายจะได้พักเหนื่อยเสียที
หลังจากที่ถูกใช้งานมาอย่างหนัก ในวันงาน ชาวไร่ชาวนาจะหยุดงาน
ทั้งหมดและจะตกแต่งควายของตนอย่างสวยงามด้วยผ้าแพรพรรณ
และลูกปัดสีต่างๆ และนำควายมาชุมนุมกันที่ตลาด พร้อมกันนั้น
ก็จะนำผลิตผลของตนบรรทุกเกวียนมาขายให้ชาวบ้านร้านตลาดไปพร้อมๆ กัน
เมื่อจับจ่ายขายสินค้าซื้อหาของต้องประสงค์เสร็จแล้ว ต่างคนต่างก็
ถือโอกาสมาพบปะสนทนากัน บ้างก็จูงควายเข้าเที่ยวตลาดจนกลายมาเป็น
การแข่งขันวิ่งควายกันขึ้น และจากการที่ชาวไร่ชาวนาต่างก็พากันตกแต่ง
ประดับประดาควายของตนอย่างสวยงามนี่เอง ทำให้เกิดการประกวด
ประชันความสวยงามของควายกันขึ้น พร้อมๆ ไปกับการแข่งขันวิ่งควาย
ปัจจุบัน ประเพณีวิ่งควายในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จะจัดใน
วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 อำเภอบ้านบึงจัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
ตลาดหนองเขิน อำเภอบ้านบึง จัดในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 วัดดอนกลาง
ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จัดวิ่งควายในวันทอดกฐินประจำปีของวัด
ในวันนี้นอกจากจะจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย ประกวดความงามของควาย
และประกวดสุขภาพของควายแล้วยังมีการ "สู่ขวัญควาย"
หรือทำขวัญควายไปในตัวอีกด้วยแม้ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่
ในประเทศจะหันมาใช้เครื่องจักรกลหรือที่เรียกว่าควายเหล็ก
ช่วยผ่อนแรงในการทำนาแล้วก็ตาม แต่ชาวชลบุรีก็ยังคงอนุรักษ์
ประเพณีท้องถิ่นอันแปลกนี้อยู่ เพราะนอกจากจะเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแล้ว
ยังเป็นเครื่องแสดงถึงความสามัคคีของชาวชลบุรีอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551

12 สิงหาคม 2551 วันแม่แห่งชาติ
-คลิ๊กเพื่อชม slide show วันแม่
ของนางสาวศิวาพร ทองขาว ม.4/3 เลขที่ 37

http://www.tempf.com/getfile.php?filekey=1218515297.29545_12_________2551.rar&mime=application/rar

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Dream of occupation

An occupation I want to be a teacher.
teachers are people who give knowledge for everyone.
I will see my students have a good people in society and
my students will grow up to be come good people in a
profession. I will my student made a right thing for they
future because be togcther to development my national.

Night markets

At the night markets. I want to buy books and toys.
I want to buy a lot of food and sweet.
And I walk around the night markets.

Addictive personality

Addictive personality
Addictive personality is habit that doing always
after that is habit that do not stop and can not
stop when you do it
Excample
-Talking with teacher teach
-Doing homework with teacher teach
-Drink mailk
-Call on telephone
-Play computer
-Read comic book
-Listen to music
-Watch television
-Get up late

รายงานเรื่องวรรณกรรมของขังหวัดเพชรบุรี

สมเด็จเจ้าแตงโม
เรื่องย่อ
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งเป็นรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่บ้านหนองว้าเมืองเพชรบุรี มีเด็กชายคนหนึ่งชื่อเดิมไม่ปรากฏ กำพร้ามารดาอยู่กับพี่สาว วันหนึ่งตำข้าวหกถูกพี่สาวไล่ตี จึงหนีออกจากบ้านด้วยความใจเพชร อดอยากเร่ร่อนไปเรื่อยๆ วันหนึ่งเล่นน้ำอยู่กับเพื่อนหน้าวัดใหญ่เมืองเพชรบุรี เห็นเปลือกแตงโมลอยมา ด้วยความหิวจึงคว้าเปลือกแตงโมลงไปกินใต้น้ำ เพื่อนๆ ก็ล้อว่าเด็กกินเปลือกแตงโม และเรียกว่าเด็กแตงโมในที่สุด วันนั้นเป็นวันพิธีมงคลการ เด็กแตงโมนอนในวัดใหญ่นี้ คืนนั้นสมภารวัดจึงเกิดนิมิตร ฝันว่าจะมีผู้มีบุญวาสนามาอยู่ด้วย เข้าใจว่าเป็นเด็กแตงโมคนนี้จึงชวนให้อยู่ด้วย และให้บวชเรียนศึกษาพระธรรมวินัยจนสิ้นภูมิรู้ของอาจารย์ต่างๆ ในเมืองเพชร ท่านสมภารจึงพาไปศึกษาต่อที่วักในกรุงศรีอยุธยา ได้เรียนปริยัติศาสนาจนจบพระปิฎกไตร ได้เป็นเปรียญและได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีชื่อเสียงโด่งดังจนเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระอาจารย์สอนพระราชบุตร พระราชนัดดา เมื่อพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้นเสวยราชย์ จึงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นที่พระราชาคณะ เรียกกันภายหลังว่า สำเร็จเจ้าแตงโม หรือสมเด็จเจ้าแตงโม
สมเด็จเจ้าแตงโมเป็นผู้มีความกตัญญูต่อภูมิลำเนาเดิม ต่อมาจึงถวายพระพรลาพระเจ้าแผ่นดินกลับไปบูรณะปฏิสังขรณ์วัดใหญ่ที่ท่านเคยพำนักมาก่อน และพระเจ้าแผ่นดินยังโปรดเกล้าฯ พระราชทานท้องพระโรงซึ่งเป็นตัวไม้ไปสร้างศาลาการเปรียญด้วย ที่วัดนี้สมเด็จเจ้าแตงโมได้หล่อรูปท่านไว้ด้วยฝีมือของตาแป๊ะหลังโกง ของสำคัญท่านยังเหลืออยู่คือฝาบาตรมุก กล่าวกันว่าสมเด็จเจ้าแตงโมมีชื่อเดิมว่าทอง และได้สมณศักดิ์เป็นที่พระวัดสุวรรณมุนี วัดใหญ่ที่ท่านซ่อมแซมจึงได้นามว่า วัดสุวรรณาราม สมเด็จเจ้าแตงโมมรณภาพขณะที่ดูแลการสร้างและบูรณะ พระพุทธบาท สระบุรี

ด้านสถาปัตยกรรม

1. ปรางค์วัดกำแพงแลง อยู่ในเขตอำเภอเมือง เป็นโบราณสถานที่สร้างด้วยศิลาแลงฉาบปูนประดับด้วยลายปูนปั้น ลักษณะทางด้านศิลปกรรมไม่ว่าที่ปรางค์หรือปราสาท ล้วนแต่แสดงถึงรูปทรงของวัตถุของสถาปัตยกรรมแบบบายน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปที่ชื่อว่า “หลวงพ่อเพชร”
2. ศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณาราม ลักษณะเป็นอาคารไม้ที่สร้างใน สมัยอยุธยา มีขนาดใหญ่ประมาณ 10 ห้อง มีเสาแปดเหลี่ยมเรียงกัน 4 แถว ๆละ11 ต้น รวม 44 ต้น ในศาลามีธรรมาสน์ยอด 2 หลัง หลังหนึ่งเป็นฝีมือช่างปัจจุบันส่วนอีกหลังหนึ่งมีสภาพชำรุดใช้การไม่ได้แล้ว สร้างโดยช่างที่เป็นยอดฝีมือครั้งอยุธยา ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงชมว่างามเหลือพรรณา เล่ากันว่าศาลานี้เดิมเป็นพระตำหนักของพระเจ้าเสือ แต่ได้พระราชทานให้สมเด็จพระสังฆราชแตงโมนำมาปลูกสร้างเป็นศาลาการเปรียญของวัด
3.พระอุโบสถวัดมหาสมณาราม วัดมหาสมณารามหรือที่คนทั่วไปเรียกว่าวัดเขาวัง มีพระอุโบสถเป็นอาคารไทยขนาดกลาง หลังคาซ้อนสองชั้นมุงด้วยกระเบื้องเคลือบ มีช่อฟ้าใบระกาและหางหงส์งดงามยิ่ง หน้าบันมีลายปูนปั้นเป็นสัญลักษณ์ของรัชกาลที่ 4 เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎตรงด้านหน้าและด้านหลังของพระอุโบสถ ทำเป็นศาลาขวางอยู่ชิดกับตัวโบสถ์ ผนังก่อด้วยอิฐฉาบปูน ทำเป็นช่องโค้งแหลม และลักษณะที่แปลกตาก็คือ ใบเสมาหินอ่อนสลักลวดลายเป็นรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นแบบที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 4
4. โบสถ์วัดกุฏิบางเค็ม วัดกุฏิตั้งอยู่ในเขตอำเภอเขาย้อย ตัวโบสถ์เป็นไม้มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาโบสถ์ไม้ที่มีอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี เฉพาะส่วนที่กั้นฝามีขนาดยาว 7 ห้อง กว้าง 3 ห้อง และมีมุขยื่นออกไปด้านหน้าและด้านหลัง ด้านละ 1 ห้อง และทำเป็นพาไลอีก 1 ห้อง โดยรอบอาคารหน้าบันจำหลักไม้ และฝาแกะสลักซึ่งมีทั้งหมด 20 แผง ถือว่าเป็นโบสถ์ที่มีฝาแกะสลักไม้ทั้งหลังเพียงแห่งเดียวเท่านั้น
5.วัดสระบัว อยู่เชิงเขาวัง มีพระอุโบสถที่สร้างในสมัยอยุธยา ฐานอ่อนโค้งทรงเรือสำเภา พัทธสีมารอบพระอุโบสถเป็นงานปูนปั้นศิลปะสมัยอยุธยาโดยสมบูรณ์ตั้งแต่ฐานจนถึงยอด ที่ฐานเป็นลายปูนปั้นยักษ์แบกอยู่ทั้งสี่ด้าน ชั้นที่สองถัดขึ้นมาเป็นลายปูนปั้นรูปครุฑ ชั้นที่สามเป็นลายรูปกระจังชั้นที่สี่ เป็นลายรูปดอกบัว และบนสุดเป็นใบเสมาคู่ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้มีความสูงรวมกัน 2.50 เมตร นับได้ว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาแท้ของจังหวัดเพชรบุรี

ด้านประติมากรรม

1. ปูนปั้นวัดไผ่ล้อม ปูนปั้นหน้าบันวัดไผ่ล้อมมีลวดลายให้ชมกันสองหน้าบันปั้นเป็นภาพ ปราสาทเจ็ดชั้น ศาลา เชิงผา ภูเขา ต้นไม้ และภาพพระรูปปางต่าง ๆ ฝีมือการปั้นยอดเยี่ยมมาก ภาพปูนปั้นผนังด้านนี้เมื่อต้องแสงจะทำให้เกิดเงาสลับซับซ้อนดูลุ่มลีกลดหลั่นเป็นชั้นช่อง แสดงถึงฝีมือความเป็นเลิศในแนวคิดและฝีมือช่างอย่างหาที่เปรียบมิได้
2. ปูนปั้นวัดใหญ่สุวรรณาราม เป็นรูปแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย สังเกตจากลวดลายกนก อ่อนพริ้วแตกก้านแตกช่อออกลายประสานกลมกลืนกัน ภาพประกอบมักนิยมเป็นรูปครุฑรูปนารายณ์ทรงครุฑและรูปนารายณ์เหยียบบ่าอสูรเป็นส่วนมาก
3. รูปปั้นวัดเขาบันไดอิฐ หน้าบันโบสถ์ทางด้านทิศตะวันออกมีศิลปะปูนปั้นเต็มหน้าบัน ปั้น เป็นรูปครุฑ ประกอบด้วยลายพุ่มปลายสะพัดดังเปลวไฟถัดจากลายพุ่มเป็นลายกนกก้านขดข่อหางโต พื้นประดับกระจก
4. ปูนปั้นฐานเสมาวัดสระบัว ฐานเสมาชั้นล่างเป็นภาพยักษ์แบกใช้มือดันฐานเสมาชั้นบน ส่วน ด้านข้างและด้านหลังปั้นเป็นคนพวกสิบสองภาษา สำหรับด้านหน้าโบสถ์ปั้นเป็นพวกอมนุษย์
5 .ปูนปั้นวัดมหาธาตุวรวิหาร ปูนปั้นที่วิหารหลวงวัดนี้งดงามเด่นสง่าเป็นที่ตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก เป็นฝีมือชั้นครูในสมัยรัตนโกสินทร์ของชาวเพชรบุรี
6 .ปูนปั้นวัดพลับพลาชัย มีลายปูนปั้นที่ซุ้มประตุทางซ้ายมือเป็นภาพหนุมานเข้าห้องนางวารินท์ ส่วนซุ้มทางขวามือเป็นภาพวิรุญจำบังล้ม
7. ปูนปั้นวัดปากคลอง เป็นงานปูนปั้นที่แสดงให้เห็นถึงฝีมือและชั้นเชิงของช่างโดยเฉพาะภาพ เทพพนมและลายดอกไม้ และที่น่าทึ่งก็คือ การลงสีในงานปูนปั้นซึ่งทำได้งดงามน่าชมยิ่งนัก
8 .ใบเสมาวัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นใบเสมาคู่ทำด้วยหินทรายแดง บนแท่งสูง 120 เซนติเมตร จำหลักลวดลายเต็มทั้งแผ่น มีซุ้มเสมาแบบกูบข้าง ลายที่ฐานเสมาแกะสลักเป็นรูปดอกไม้เรียงกัน

ด้านจิตรกรรม

1. จิตกรรมผาผนังวัดใหญ่สุวรรณาราม มีลักษณะเป็นภาพเขียนเต็มผนังซึ่งบางส่วนลบเลือนเกือบหมด แต่ยังพอเห็นร่องลอยของความงดงามได้ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี กล่าวว่า “ช่างที่อยู่ในสมัยที่ภาพเขียนเจริญถึงขีดสุดเท่านั้น” จึงจะสามารถวาดภาพจิตรกรรมที่งดงามเช่นนี้ได้
2. จิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะแก้ว จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์ที่นี่เขียนขึ้นในสมัยอยุธยาใช้สีใสสว่างน่าชม
3 .จิตรกรรมฝาผนังวัดมหาสมณาราม เป็นกลุ่มช่างขรัวอินโข่งและลูกศิษย์ท่านขรัวอินโข่งเป็นชาวเพชรบุรี และเป็นจิตกรเอกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
4. ภาพจิตกรรมฝาผนังในพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ เป็นฝีมือช่างเพชรบุรี ได้แก่ ครูพิณ อินฟ้าแสง ครูเลิศ พ่วงพระเดช หลวงพ่อฤทธิ์ ครูหวนตาลวันนา พระอาจารย์เป้า วัดพระทรง

บรรณานุกรม

http://intranet.m-culture.go.th/phetchaburi/le1.htm
http://www.geocities.com/clcseacon/phetburi.html