วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

รายงานเรื่องวรรณกรรมของขังหวัดเพชรบุรี

สมเด็จเจ้าแตงโม
เรื่องย่อ
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งเป็นรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่บ้านหนองว้าเมืองเพชรบุรี มีเด็กชายคนหนึ่งชื่อเดิมไม่ปรากฏ กำพร้ามารดาอยู่กับพี่สาว วันหนึ่งตำข้าวหกถูกพี่สาวไล่ตี จึงหนีออกจากบ้านด้วยความใจเพชร อดอยากเร่ร่อนไปเรื่อยๆ วันหนึ่งเล่นน้ำอยู่กับเพื่อนหน้าวัดใหญ่เมืองเพชรบุรี เห็นเปลือกแตงโมลอยมา ด้วยความหิวจึงคว้าเปลือกแตงโมลงไปกินใต้น้ำ เพื่อนๆ ก็ล้อว่าเด็กกินเปลือกแตงโม และเรียกว่าเด็กแตงโมในที่สุด วันนั้นเป็นวันพิธีมงคลการ เด็กแตงโมนอนในวัดใหญ่นี้ คืนนั้นสมภารวัดจึงเกิดนิมิตร ฝันว่าจะมีผู้มีบุญวาสนามาอยู่ด้วย เข้าใจว่าเป็นเด็กแตงโมคนนี้จึงชวนให้อยู่ด้วย และให้บวชเรียนศึกษาพระธรรมวินัยจนสิ้นภูมิรู้ของอาจารย์ต่างๆ ในเมืองเพชร ท่านสมภารจึงพาไปศึกษาต่อที่วักในกรุงศรีอยุธยา ได้เรียนปริยัติศาสนาจนจบพระปิฎกไตร ได้เป็นเปรียญและได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีชื่อเสียงโด่งดังจนเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระอาจารย์สอนพระราชบุตร พระราชนัดดา เมื่อพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้นเสวยราชย์ จึงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นที่พระราชาคณะ เรียกกันภายหลังว่า สำเร็จเจ้าแตงโม หรือสมเด็จเจ้าแตงโม
สมเด็จเจ้าแตงโมเป็นผู้มีความกตัญญูต่อภูมิลำเนาเดิม ต่อมาจึงถวายพระพรลาพระเจ้าแผ่นดินกลับไปบูรณะปฏิสังขรณ์วัดใหญ่ที่ท่านเคยพำนักมาก่อน และพระเจ้าแผ่นดินยังโปรดเกล้าฯ พระราชทานท้องพระโรงซึ่งเป็นตัวไม้ไปสร้างศาลาการเปรียญด้วย ที่วัดนี้สมเด็จเจ้าแตงโมได้หล่อรูปท่านไว้ด้วยฝีมือของตาแป๊ะหลังโกง ของสำคัญท่านยังเหลืออยู่คือฝาบาตรมุก กล่าวกันว่าสมเด็จเจ้าแตงโมมีชื่อเดิมว่าทอง และได้สมณศักดิ์เป็นที่พระวัดสุวรรณมุนี วัดใหญ่ที่ท่านซ่อมแซมจึงได้นามว่า วัดสุวรรณาราม สมเด็จเจ้าแตงโมมรณภาพขณะที่ดูแลการสร้างและบูรณะ พระพุทธบาท สระบุรี

ด้านสถาปัตยกรรม

1. ปรางค์วัดกำแพงแลง อยู่ในเขตอำเภอเมือง เป็นโบราณสถานที่สร้างด้วยศิลาแลงฉาบปูนประดับด้วยลายปูนปั้น ลักษณะทางด้านศิลปกรรมไม่ว่าที่ปรางค์หรือปราสาท ล้วนแต่แสดงถึงรูปทรงของวัตถุของสถาปัตยกรรมแบบบายน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปที่ชื่อว่า “หลวงพ่อเพชร”
2. ศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณาราม ลักษณะเป็นอาคารไม้ที่สร้างใน สมัยอยุธยา มีขนาดใหญ่ประมาณ 10 ห้อง มีเสาแปดเหลี่ยมเรียงกัน 4 แถว ๆละ11 ต้น รวม 44 ต้น ในศาลามีธรรมาสน์ยอด 2 หลัง หลังหนึ่งเป็นฝีมือช่างปัจจุบันส่วนอีกหลังหนึ่งมีสภาพชำรุดใช้การไม่ได้แล้ว สร้างโดยช่างที่เป็นยอดฝีมือครั้งอยุธยา ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงชมว่างามเหลือพรรณา เล่ากันว่าศาลานี้เดิมเป็นพระตำหนักของพระเจ้าเสือ แต่ได้พระราชทานให้สมเด็จพระสังฆราชแตงโมนำมาปลูกสร้างเป็นศาลาการเปรียญของวัด
3.พระอุโบสถวัดมหาสมณาราม วัดมหาสมณารามหรือที่คนทั่วไปเรียกว่าวัดเขาวัง มีพระอุโบสถเป็นอาคารไทยขนาดกลาง หลังคาซ้อนสองชั้นมุงด้วยกระเบื้องเคลือบ มีช่อฟ้าใบระกาและหางหงส์งดงามยิ่ง หน้าบันมีลายปูนปั้นเป็นสัญลักษณ์ของรัชกาลที่ 4 เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎตรงด้านหน้าและด้านหลังของพระอุโบสถ ทำเป็นศาลาขวางอยู่ชิดกับตัวโบสถ์ ผนังก่อด้วยอิฐฉาบปูน ทำเป็นช่องโค้งแหลม และลักษณะที่แปลกตาก็คือ ใบเสมาหินอ่อนสลักลวดลายเป็นรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นแบบที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 4
4. โบสถ์วัดกุฏิบางเค็ม วัดกุฏิตั้งอยู่ในเขตอำเภอเขาย้อย ตัวโบสถ์เป็นไม้มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาโบสถ์ไม้ที่มีอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี เฉพาะส่วนที่กั้นฝามีขนาดยาว 7 ห้อง กว้าง 3 ห้อง และมีมุขยื่นออกไปด้านหน้าและด้านหลัง ด้านละ 1 ห้อง และทำเป็นพาไลอีก 1 ห้อง โดยรอบอาคารหน้าบันจำหลักไม้ และฝาแกะสลักซึ่งมีทั้งหมด 20 แผง ถือว่าเป็นโบสถ์ที่มีฝาแกะสลักไม้ทั้งหลังเพียงแห่งเดียวเท่านั้น
5.วัดสระบัว อยู่เชิงเขาวัง มีพระอุโบสถที่สร้างในสมัยอยุธยา ฐานอ่อนโค้งทรงเรือสำเภา พัทธสีมารอบพระอุโบสถเป็นงานปูนปั้นศิลปะสมัยอยุธยาโดยสมบูรณ์ตั้งแต่ฐานจนถึงยอด ที่ฐานเป็นลายปูนปั้นยักษ์แบกอยู่ทั้งสี่ด้าน ชั้นที่สองถัดขึ้นมาเป็นลายปูนปั้นรูปครุฑ ชั้นที่สามเป็นลายรูปกระจังชั้นที่สี่ เป็นลายรูปดอกบัว และบนสุดเป็นใบเสมาคู่ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้มีความสูงรวมกัน 2.50 เมตร นับได้ว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาแท้ของจังหวัดเพชรบุรี

ด้านประติมากรรม

1. ปูนปั้นวัดไผ่ล้อม ปูนปั้นหน้าบันวัดไผ่ล้อมมีลวดลายให้ชมกันสองหน้าบันปั้นเป็นภาพ ปราสาทเจ็ดชั้น ศาลา เชิงผา ภูเขา ต้นไม้ และภาพพระรูปปางต่าง ๆ ฝีมือการปั้นยอดเยี่ยมมาก ภาพปูนปั้นผนังด้านนี้เมื่อต้องแสงจะทำให้เกิดเงาสลับซับซ้อนดูลุ่มลีกลดหลั่นเป็นชั้นช่อง แสดงถึงฝีมือความเป็นเลิศในแนวคิดและฝีมือช่างอย่างหาที่เปรียบมิได้
2. ปูนปั้นวัดใหญ่สุวรรณาราม เป็นรูปแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย สังเกตจากลวดลายกนก อ่อนพริ้วแตกก้านแตกช่อออกลายประสานกลมกลืนกัน ภาพประกอบมักนิยมเป็นรูปครุฑรูปนารายณ์ทรงครุฑและรูปนารายณ์เหยียบบ่าอสูรเป็นส่วนมาก
3. รูปปั้นวัดเขาบันไดอิฐ หน้าบันโบสถ์ทางด้านทิศตะวันออกมีศิลปะปูนปั้นเต็มหน้าบัน ปั้น เป็นรูปครุฑ ประกอบด้วยลายพุ่มปลายสะพัดดังเปลวไฟถัดจากลายพุ่มเป็นลายกนกก้านขดข่อหางโต พื้นประดับกระจก
4. ปูนปั้นฐานเสมาวัดสระบัว ฐานเสมาชั้นล่างเป็นภาพยักษ์แบกใช้มือดันฐานเสมาชั้นบน ส่วน ด้านข้างและด้านหลังปั้นเป็นคนพวกสิบสองภาษา สำหรับด้านหน้าโบสถ์ปั้นเป็นพวกอมนุษย์
5 .ปูนปั้นวัดมหาธาตุวรวิหาร ปูนปั้นที่วิหารหลวงวัดนี้งดงามเด่นสง่าเป็นที่ตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก เป็นฝีมือชั้นครูในสมัยรัตนโกสินทร์ของชาวเพชรบุรี
6 .ปูนปั้นวัดพลับพลาชัย มีลายปูนปั้นที่ซุ้มประตุทางซ้ายมือเป็นภาพหนุมานเข้าห้องนางวารินท์ ส่วนซุ้มทางขวามือเป็นภาพวิรุญจำบังล้ม
7. ปูนปั้นวัดปากคลอง เป็นงานปูนปั้นที่แสดงให้เห็นถึงฝีมือและชั้นเชิงของช่างโดยเฉพาะภาพ เทพพนมและลายดอกไม้ และที่น่าทึ่งก็คือ การลงสีในงานปูนปั้นซึ่งทำได้งดงามน่าชมยิ่งนัก
8 .ใบเสมาวัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นใบเสมาคู่ทำด้วยหินทรายแดง บนแท่งสูง 120 เซนติเมตร จำหลักลวดลายเต็มทั้งแผ่น มีซุ้มเสมาแบบกูบข้าง ลายที่ฐานเสมาแกะสลักเป็นรูปดอกไม้เรียงกัน

ด้านจิตรกรรม

1. จิตกรรมผาผนังวัดใหญ่สุวรรณาราม มีลักษณะเป็นภาพเขียนเต็มผนังซึ่งบางส่วนลบเลือนเกือบหมด แต่ยังพอเห็นร่องลอยของความงดงามได้ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี กล่าวว่า “ช่างที่อยู่ในสมัยที่ภาพเขียนเจริญถึงขีดสุดเท่านั้น” จึงจะสามารถวาดภาพจิตรกรรมที่งดงามเช่นนี้ได้
2. จิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะแก้ว จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์ที่นี่เขียนขึ้นในสมัยอยุธยาใช้สีใสสว่างน่าชม
3 .จิตรกรรมฝาผนังวัดมหาสมณาราม เป็นกลุ่มช่างขรัวอินโข่งและลูกศิษย์ท่านขรัวอินโข่งเป็นชาวเพชรบุรี และเป็นจิตกรเอกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
4. ภาพจิตกรรมฝาผนังในพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ เป็นฝีมือช่างเพชรบุรี ได้แก่ ครูพิณ อินฟ้าแสง ครูเลิศ พ่วงพระเดช หลวงพ่อฤทธิ์ ครูหวนตาลวันนา พระอาจารย์เป้า วัดพระทรง

บรรณานุกรม

http://intranet.m-culture.go.th/phetchaburi/le1.htm
http://www.geocities.com/clcseacon/phetburi.html


ไม่มีความคิดเห็น: