วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551
วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551
เติมเต็มชีวิต...ในสิ่งที่ขาด
งาน วิชาภาษาอังกฤษ
Education
Freese frame
Gone fishing
-This story told about."Aouarium."at siam ocean world.
I leanrt about attraotion in Bangkok. It was "Aquariums"
it was a new place for learn about like of marine auimals
we can see all sorts of mariue animals mariue life.
Which we can not fine to sceits such as shark,penquins moray eel,
rays etc. At this aquarium its used a new technology and
showed the hi-tech diving mask that allows quide to breathe
and take to the audience
งาน วิชาภาษาอังกฤษ
I have ever been to read a nover of "Dragulai."
In story said about it. In the full moon.
Whan it saw to the moon. It became to symbie.
I read that book in the evening. So I slept not well last night.
Diary Online
งาน Computer
1.เพลงของ: น้องสาว อายุ 16
ชื่อเพลง: โจทย์รัก
นักร้อง : เล้าโลม
เนื้อร้อง : หนึ่งคนทิ้งเราให้ตาย อีกคนให้ลมหายใจ หนึ่งทางคือรักจริง อีกทางก็รักฝังใจ
2.เพลงของ: พี่สาว อายุ 24
ชื่อเพลง: กันและกัน
นักร้อง : คิว สุวีระ บุญรอด
เนื้อร้อง : อยากให้รู้ ว่าเพลงรัก ถ้าไม่รัก ก็เขียนไม่ได้ แต่กับเธอคนดีรู้ไหม ฉันเขียนอย่างง่าย...ดาย
3.เพลงของ: คุณน้า อายุ 45
ชื่อเพลง: ไม่ใช่แฟนทำแมนไม่ได้
นักร้อง : ตั๊กแตน ชลดา
เนื้อร้อง : คนที่ไม่ใช่แฟน ทำแทนทุกเรื่องไม่ได้ เหนื่อยก็รู้ เหงาก็เข้าใจ แต่ไม่อาจให้ยืมอ้อมแขน
4.เพลงของ: คุณแม่ อายุ 48
ชื่อเพลง: โทรหาครั้งสุดท้าย
นักร้อง : เอิร์น the star
เนื้อร้อง : คนใจเหงา ได้แต่ทนเหงาใจ วันวันก็ยังคิดถึงแต่เธอ
5.เพลงของ: คุณป้า อายุ 52
ชื่อเพลง: ระบำดอกหญ้า
นักร้อง : กาญจนา มาศิริ
เนื้อร้อง : เจ้าบินไปแห่งใด นกเจ้าบินไปแห่งใด โปรดนำคำพูดไป นกเจ้าวานนำติดไป
6.เพลงของ: คุณยาย อายุ 63
ชื่อเพลง: หัวใจมีปีก
นักร้อง : จิตติมา เจือใจ
เนื้อร้อง : ถ้าหัวใจ ฉันมีปีกบิน จะผกผิน บินไปหาเธอ
งาน Computer
1. FORMAT เป็นคำสั่งภายนอก ใช้เพื่ออะไร?
ก. จัดการโครงสร้างของดิสก์ใหม่ข. ทำให้แผ่นดิสก์ 2 แผ่นเหมือนกันค. แสดงจำนวนของหน่วยความจำง. ย้ายแฟ้มตอบ จัดการโครงสร้างของดิสก์ใหม่ เพราะ การ Format ก็คือการลบข้อมูลทั้งหมดใน Partition นั้น ๆ ข้อมูลจะหายไปทั้งหมด แต่ในความเป็นจริงแล้วข้อมุลยังอยู่ เพราะคอมพิวเตอร์แค่ไป mark ไว้เท่านั้นว่าข้อมูลตรงนี้เป็นข้อมูลว่างสามารถใช้งานได้ ทำให้แม้ว่าจะ Format ข้อมูลใน Hard Disk ไปแล้ว ก็ยังมีมือดี กู้ข้อมูลกลับคืนมาได้
2. แบนด์วิดธ์ (Bandwidth) หมายถึง
ก. สื่อส่งข้อมูลที่ใช้สัญญาณแสงวิ่งผ่านท่อใยแก้วหรือพลาสติกข. สื่อส่งข้อมูลที่นับว่าเก่าแก่และยังนิยมใช้กันมากในปัจจุบันค. ปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่งผ่านสื่อกลางในแต่ละครั้งง. สัญญาณรบกวน
ตอบ ปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่งผ่านสื่อกลางในแต่ละครั้ง
3. ใครคือผู้ประดิษฐ์เครื่อง DIFFERENCE ENGINE
ก. ADA AUGUSTAข. JOHN NAPIERค. CHARLES BABBAGE ง. JOHN MAUCHLY ตอบ CHARLES BABBAGE เพราะ แบบเบจขยายงานมาศึกษาเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) เพื่อสร้างเป็น เครื่องจักรที่สามารถรองรับการคำนวณทุกชนิด (ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์)
4. ใครคือผู้ประดิษฐ์ตาราง LOGARITHM
ก. ADA AUGUSTAข. CHARLES BABBAGEค. JOHN NAPIERง. JOHN MAUCHLYตอบ JOHN NAPIER เพราะ จอห์น เนเปียร์ นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ เกิดในปี พ.ศ. 2093 ที่ Merchiston Castle, Edinburgh, Scotland เนเปียร์ ได้สร้างตารางการคูณบนชุดของแท่งต่างๆ แต่ละด้านบรรจุตัวเลขที่สัมพันธ์กันในลักษณะความก้าวหน้าเชิงคณิตศาสตร์ สามารถหาค่ารากที่สอง รากที่สาม และสามารถคูณหรือหารเลขจำนวนมากๆ และการยกกำลังจำนวนมาก ๆ ให้ได้ผลลัพธ์ถูกต้องและรวดเร็วได้ และได้แปลงปัญหาของการคูณที่ซับซ้อนไปเป็นปัญหาการบวกที่ง่ายขึ้น เครื่องมือที่เรียกว่า สไลด์รูล (slide rule) เพื่อใช้ในการคูณ และเครื่องมือนี้เป็นต้นกำเนิดของ แอนาล็อกคอมพิวเตอร์(analog computer)
5. shut down ใช้ทำหน้าที่อะไร
ก. แสดงรายชื่อโปรแกรมข. การเลิกการทำงาน.ค. แสดงราชชื่อเอกสารง. ส่วนที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ตอบ การเลิกการทำงาน เพราะ เมื่อสิ้นสุดการใช้งานแล้ว ควรที่จะสั่ง Shutdown ก่อนที่จะปิดเครื่องเสมอ เพื่อให้ระบบทำการเคลียร์พื้นที่ต่าง ๆ ของฮาร์ดดิสก์ให้เรียบร้อยเสียก่อน ที่จะมีการปิดไฟเข้าเครื่องจริง ๆ และนอกจากนั้น การที่เราสั่ง Shutdown จะเป็นการบอกให้ฮาร์ดดิสก์ เตรียมพร้อมสำหรับการ หยุดทำงานต่าง ๆ อีกด้วย
6. ระบบดาวเทียมจะใช้วงโคจรที่มีความสูงเท่าไรในการส่งข้อมูล
ก. 20,000 ไมล์ข. 22,330 ไมล์ค. 22,300 ไมล์.ง. 22,350 ไมล์
ตอบ 22,300 ไมล์
7. ดิสก์บูตสแตริป เป็นโปรแกรมที่ใช้ทำอะไร
ก. ใช้ตรวจว่า cpu มีความพร้อมหรือยังข. ควบคุมอุปกรณ์คอมพิวเตอณ์ทั้งหมดค. ส่วนที่ผู้ใช้คอยป้อนคำสั่งง. ใช้ตรวจสอบว่ามีไฟล์ระบบ 2 ไฟล์หรือไม่.
ตอบ ใช้ตรวจสอบว่ามีไฟล์ระบบ 2 ไฟล์หรือไม่
8. ซอร์ฟแวร์สำหรับเครือข่าย หมายถึง
ก. ชุดคำสั่งของโปรแกรมต่าง ๆข. ชุดของโปรแกรมต่าง ๆ ที่ใช้ในการเซตอัปอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในเครือข่ายให้ใช้งานได้.ค. ชุดคำสั่งที่ใช้ในการเก็บไฟล์ง. ไม่มีข้อถูก
ตอบ ชุดของโปรแกรมต่าง ๆ ที่ใช้ในการเซตอัปอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในเครือข่ายให้ใช้งานได้ เพราะเป็นชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
9. เครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องแรกของโลก มีชื่อว่าอะไร
ก. LSI ข. EDVAC ค. ENIVACI.ง. ENCAC
ตอบ ENIVACI เพราะ ได้มีการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริงขึ้นในพ.ศ. ๒๔๘๗ เครื่องอีนิแอ็กเป็นเครื่องใหญ่โตมาก หนักมากกว่า๓๐ ตัน ต้องติดตั้งให้ห้องกว้างใหญ่มากกว่า ๑,๕๐๐ ตารางฟุต ใช้หลอดสุญญากาศ ๑๘,๐๐๐ หลอด รีเลย์ ๑,๕๐๐ ตัวและกินกำลังไฟฟ้า ๑๕๐ กิโลวัตต์
10. VACUMN TUBE คืออะไร
ก. หลอดทรานซิสเตอร์ข. หลอดสูญญากาศ.ค. วงจรไอซีง. ไมโครโปปรเซสเซอร์
ตอบ หลอดสุญญากาศ เพราะ ในการผลิตคอมพิวเตอร์ในสมัยเริ่มแรกนั้นใช้หลอดสุญญากาศเป็นหน่วยความจำ
11. ไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 8 บิตเป็นไมโครโปรฌวสเซอร์ยุคที่…….
ก. 1ข. 2ค. 3ง. 4
ตอบ 2 เพราะ ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 ได้มีการปรับปรุง สถาปัตยกรรมของ ไมโครโปรเซสเซอร์ เพื่อเพิ่มความเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพ ในการคำนวณ ไมโครโปรเซสเซอร์ช่วงแรก จะประมวลผลข้อมูลทีละ 4บิต หรือเรียกว่า ใช้เวิร์ดข้อมูลขนาด 4 บิต ซึ่งทำงานได้ช้าแต่ต่อมา ได้มีการพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ใหม่ ที่ทำงานได้เร็วขึ้น ซึ่งก็คือ ไมโครโปรเซสเซอร์ ขนาด 8 บิต
12. NET WARE สามารถสื่อสารกับ NETWORK INTERFACE CARD นี้ได้โดยผ่านการทำงานของ SOFT WARE ที่เรียกว่า
ก. FILE SERVERข. HARD DISKค. LAN DRIVER.ง. LAN DIVISION
ตอบ LAN DRIVER เพราะ สำหรับคอมพิวเตอร์แล้ว driver เป็นโปรแกรมสำคัญมากโปรแกรมหนึ่ง ที่จะช่วยให้ชิ้นส่วนต่างๆ ที่นำมาประกอบเป็นคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
13. Web Side ที่มีนามสกุล .edu หรือ .ac คือเว็บขององค์การประเภทใด
ก. องค์กรเอกชน ข. องค์กรทหาร ค. องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย ง. สถานศึกษา.
ตอบ สถานศึกษา เช่น www.bmp.ac.th เป็น Web Sideของโรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี
14. จงบอกหน้าที่ของ dram
ก. จัการกับหน่วยความจำ ข. ทำหน้าที่แปลคำสั่งค. copy ข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาไว้ที่ตัวมัน.ง. จัดคิวการประมวลผลแบบ online
ตอบ Copy ข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาไว้ที่ตัวมัน เพราะ DRAM คือไดนามิก ซึ่งตรงกันข้ามกับ SRAM หรือ สแตติกแรม (Static RAM); DRAM ต้องการการรีเฟรช (Refresh) เซลเก็บข้อมูล หรือการประจุไฟ (Charge) ในทุกๆช่วงมิลลิวินาที ในขณะที่ SRAM ไม่ต้องการการรีเฟรชเซลเก็บข้อมูล เนื่องจากมันทำงานบนทฤษฎีของการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงใน 2 ทิศทาง ไม่เหมือนกับเซลเก็บข้อมูลซึ่งเป็นเพียงตัวเก็บประจุไฟฟ้าเท่านั้น โดยทั่วไป SRAM มักจะถูกใช้เป็นหน่วยความจำแคช (Cache Memory) ซึ่งโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้เร็วกว่า
15. ไมโครโปรโซสเซอร์ขนาด8 บิตในปัจจุบันนุถูกนำไปใช้ใน
ก. การคำนวณที่ใช้ความสูงข. เครื่องคอมพิวเตอร์ Appleค. อุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ในงานพาณิชย์ และงานด้านอุตสาหกรรมง. การคำนวณความเร็ว
ตอบ อุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ในงานพาณิชย์ และงานด้านอุตสาหกรรม เพราะ ระบบไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด8บิตที่มีหน่วยความจำและมีความสามารถในการติดต่อสื่อสารระบบนี้มีชื่อเรียกว่าไมโครคอมพิวเตอร์(microcomputer)หรือไมโครโปรเซสเซอร์ชิปเดี่ยวซึ่งได้มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายเพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆเช่นคีย์บอร์ดเครื่องเล่นวีดีโอเทปโทรทัศน์เตาอบไมโครเวฟโทรศัพทื์ที่มีความสามารถสูงและอุปกรณ์ต่างๆในด้านอุตสาหกรรม
16. คอนเน็กเตอร์ (Conecter) คือ
ก. อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายสองเครือข่ายเข้าด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน.ข. อุปกรณ์เกี่ยวกับโทรศัพท์ค. อุปกรณ์ที่เป็นศูนย์กลางของเครือข่ายง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
ตอบ อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายสองเครือข่ายเข้าด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เพราะ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน เมื่อเชื่อมเครือข่ายเข้าด้วยกันแล้ว คอมพิวเตอร์ทั้งสองเครือข่ายก็สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ เสมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน ตัวอย่างคอนเน็กเตอร์ที่พบเห็นกันโดยทั่วไป คือ บริดจ์ (bridge)
17. Electrical Resistance คือ
ก. สัญญาณรบกวนข. สัญญาณอ่อนลงค. สัญญาณชัดเจนง. ความต้านทานไฟฟ้า.
ตอบ ความต้านทานไฟฟ้า เพราะ Electrical Resistance เป็นสมบัติของตัวนำที่ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า จึงทำหน้าที่จำกัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรได้
18. ภาษาที่พัฒนาขึ้นขึ้นมาสำหรับงานฐานข้อมูลโดยเฉพาะคือ
ก. ภาษา SQL.ข. ภาษาซีค. ภาษาปาสคาลง. ภาษาเบสิก
ตอบ ภาษา SQL เพราะ ภาษา SQL ย่อมาจาก Structured Query Language หรือภาษาในการสอบถามข้อมูล เป็นภาษาทางด้านฐานข้อมูล ที่สามารถสร้างและปฏิบัติการกับฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์ (relational database) โดยเฉพาะ
19. เครื่องพิมพ์ที่ใช้วิธีพ่นหมึกเป็นจุดอย่างรวดเร็ว คือเครื่องพิมพ์ชนิดไหน
ก. เครื่องพิมพ์แบบด๊อตแมทตริกซ์ (Dot Matrix) ข. เครื่องพิมพ์อิงเจ็ต (Ink Jet). ค. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser) ง. เครื่องพิมพ์ซีเรียล (Sesial Printer)
ตอบ เครื่องพิมพ์อิงเจ็ต (Ink Jet) เพราะ เครื่องพิมพ์แบบอิงเจ็ตเป็นเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกที่มีการออกสร้างในปี ค.ศง 1970 โดยทีมงานของแคนาดา เรียกว่า เทคโนโลยีการพ่นหมึกแบบบับเบิลเจ็ต เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะใช้ท่อขนาดจิ๋วในการขับหมึกออกไป ผ่านหัวพิมพ์หรือหัวพิมพ์ลงบนกระดาษ ปรากฏเป็นตัวอักศรรูปภาพกราฟิกที่มีสีสันต่าง ๆ
20. บุคคลที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์สูงแต่มีนิสัยที่ชอบเข้าไปเจาะระบบคอมพิวเตอร์ผ่าน เครือข่าย แต่จะไม่ทำลายข้อมูลในเครือข่าย เรียกว่า
ก. แคร็กเกอร์ (Crackers).ข. แฮกเกอร์ (Hacker)ค. หัวขโมยง. ดักจับสัญญาณ
ตอบ แคร็กเกอร์ (Crackers) เพราะ แคร็กเกอร์ ใช้เรียกผู้ที่ละเมิดและล้วงเข้าสู่ระบบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ในทางผิดกฎหมาย
วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551
นิทานมงคลสูตรคำฉันท์
มีนกแขกเต้าสองตัวพี่น้องถูกลมพายุพัดออกจากรัง ลูกนกหนึ่งตัวลอยตกไปอยู่ในหมู่โจร โจรเลี้ยงไว้ให้ชื่อว่าสัตติคุมพะ เพราะตกอยู่ในกองอาวุธ ลูกนกอีกตัวตกไปอยู่ในหมู่ฤษี ฤษีก็สั่งสอนในทางนักปราชญ์
วันหนึ่งพระราชาผู้ครองเมืองอุตตรปัญจาละเสด็จออกประพาสป่า ทรงไล่เนื้อหลงเข้าไปในป่าลึกใกล้กับที่อยู่ของโจร พระราชาทรงพักใต้ร่มไม้และบรรทมหลับไป ขณะนั้นเหล่าโจรออกไปจากบ้านหมด นักสัตติคุมพะเห็นพระราชา จึงพูดกับคนครัวว่า "มีบุรุษมีเครื่องประดับมานอนหลับอยู่ พวกเราฆ่าให้ตายแล้วเปลื้องเอาเครื่องประดับ จับสองเท้าลากไปทิ้งเสีย" พระราชาตื่นบรรทมได้ยินถ้อยคำของนกแขกเต้าเสด็จขึ้นรถทรงหนีออกไปจากที่นั่น หนีไปพบอาศรมฤษี วันนั้นพระดาบสทั้งหลายเข้าไปในป่าหาผลไม้ อยู่แต่นกแขกเต้า นกแขกเต้าก็มีวาจาปฏิสันถารต้อนรับว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพระยาผู้ประเสริฐ พระองค์เสด็จมาครั้งนี้ดีหนักหนา เชิญพระองค์เสด็จสู่อาศรมประทับพักพระกายแล้วจึงค่อยเสด็จต่อไป"
พระราชาได้ฟังก็มีพระทัยยินดี ทรงสรรเสริญนกแขกเต้าที่อยู่กับฤษี และติเตียนนกแขกเต้าที่อยู่กับโจร
นกแขกเต้าก็ทูลว่านกแขกเต้าที่อยู่กับโจรนั้นเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน แต่บังเอิญไปอยู่กับหมู่โจร จึงได้รับการสั่งสอนให้เป็นพาล ส่วนตนอยู่ในหมู่บัณฑิต ฤษีก็สั่งสอนในทางนักปราชญ์ พระราชาได้ฟังก็เลื่อมใส เมื่อฤาทั้งหลายกลับมาพระราชาจึงทรงอาราธนาฤาทั้งหลายไปอยู่ ณ อุทยานของพระองค์และทรงบำรุงฤษีทั้งหลายจนตลอดพระชนม์ชีพ และพระราชทานอภัยแก่นกแขกเต้าทั้งหลายมิให้คนทำร้าย
มงคลสูตรคำฉันท์(งานภาษาไทย)
ลักษณะคำประพันธ์ กาพย์ฉบังและอินทรวิเชียรฉันท์ แทรกคาถาบาลี
เนื้อเรื่องย่อ พระอานนท์ เป็นผู้เล่าว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเชตวันวิหาร ซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ตอนประถมยาม มีเทวดารัศมีเจิดจ้ามาเข้าเผ้าพระพุทธองค์ ทูลถามถึงเรื่องมงคลพระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาถึงมงคล 38 ประการ เทวดาและมนุษย์ผู้ปฎิบัติตาม จะเป็นผู้ประเสริฐ ไม่แพ้ในที่ใดๆ ได้รับความเจริญสวัสดีทุกประการ
@ หนึ่งคือบ่คบพาล
เพราะจะพาประพฤติผิด
หนึ่งคบกะบัณฑิต
เพราะจะพาประสพผล
หนึ่งกราบและบูชา
อภิบูชะนีย์ชน
ข้อนี้แหละมงคล
อดิเรกอุดมดี
@ ความอยู่ประเทศซึ่ง
เหมาะและควรจะสุขี
อีกบุญญะการที่
ณอดีตะมาดล
อีกหมั่นประพฤติ์ควร
ณสะภาวะแห่งตน
ข้อนี้แหละมงคล
อดิเรกอุดมดี
@ ความได้สดับมาก
และกำหนดสุวาที
อีกศิลปะศาสตร์มี
จะประกอบมนุญการ
อีกหนึ่งวินัยอัน
นรเรียนและเชี่ยวชาญ
อีกคำเพราะบรรสาน
ฤดิแห่งประชาชน
ทั้งสี่ประการล้วน
จะประสิทธิ์มนุญผล
ข้อนี้แหละมงคล
อดิเรกอุดมดี
@ บำรุงบิดามา-
ตุระด้วยหทัยปรีย์
หากลูกและเมียมี
ก็ถนอมประหนึ่งตน
การงานกระทำไป
บ่มิยุ่งและสับสน
ข้อนี้แหละมงคล
อดิเรกอุดมดี
@ ให้ทานณกาลควร
และประพฤติ์สุธรรมศรี
อีกสงเคราะห์ญาติ์ที่
ปฏิบัติบำเรอตน
กอบกรรมะอันไร้
ทุษะกลั้วและมัวมล
ข้อนี้แหละมงคล
อดิเรกอุดมดี
@ ความงดประพฤติ์บาป
อกุศลบ่ให้มี
สำรวมวรินทรีย์
และสุราบ่เมามล
ความไม่ประมาทใน
พหุธรรมะโกศล
ข้อนี้แหละมงคล
อดิเรกอุดมดี
@ เคารพณผู้ควร
จะประณตและนอบศีร์
อีกหนึ่งมิได้มี
จะกระด้างและจองหอง
ยินดีณของตน
บ่มิโลภทยานปอง
อีกรู้คุณาของ
นรผู้ประคองตน
ฟังธรรมะโดยกา
ละเจริญคุณานนท์
ข้อนี้แหละมงคล
อดิเรกอุดมดี
@ มีจิตตะอดทน
และสถิตณขันตี
อีกหนึ่งบ่พึงมี
ฤดิดื้อทนงหาญ
หนึ่งเห็นคณาเลิด
สมณาวราจารย์
กล่าวธรรมะโดยกาล
วรกิจจะโกศล
ทั้งสี่ประการล้วน
จะประสิทธิ์มนุญผล
ข้อนี้แหละมงคล
อดิเรกอุดมดี
@ เพียรเผากิเลสล้าง
มละโทษะยายี
อีกหนึ่งประพฤติดี
ดุจะพรหมพิสุทธิ์สรรพ์
เห็นแจ้งณสี่องค์
พระอะรียสัจอัน
อาจนำมนุษผัน
ติระข้ามทเลวน
อีกทำพระนิพพา-
นะประจักษะแก่ชน
ข้อนี้แหละมงคล
อดิเรกอุดมดี
@ จิตใครผิได้ต้อง
วรโลกะธรรมศรี
แล้วย่อมบ่พึงมี
จะประหวั่นฤกังวล
ไร้โศกธุลีสูญ
และสบายบ่มัวมล
ข้อนี้แหละมงคล
อดิเรกอุดมดี
@ เทวามนุษทำ
วรมงคะลาฉนี้
เปนผู้ประเสริฐที่
บ่มิแพ้ณแห่งหน
ย่อมถึงสวัสดี
สิริทุกประเทศดล
ข้อนี้แหละมงคล
อดิเรกอุดมดีฯ
แนวคิดสำคัญ
ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต เกิดจากการประพฤติปฏิบัติของตนเองทั้งสิ้น หาได้เกิดจากผู้อื่น สิ่งอื่น หรือวัตถุโชคลางใดๆ จากภายนอก
มงคล หมายถึง เหตุทั้งหลายอันจะทำให้บรรลุถึงความเจริญแห่งสมบัติทั้งปวง เหตุแห่งความเจริญหรือทางก้าวหน้า มีทั้งหมด 38 ประการ
มงคลสูตร เป็นพระสูตรในขุททกนิกาย หมวดขุททกปาฐ พระธรรมเล็กๆน้อยๆ
คุณค่าที่ได้รับจากการอ่าน
1. ได้ทราบวิธีปฏิบัติตนเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต
2. มีคุณค่าทางด้านสังคม เพราะข้อปฏิบัติทุกข้อในมงคลสูตรล้วนมีค่าควรประพฤติปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้บุคคลและสังคมเจริญก้าวหน้า
3. ได้ศึกษาภาษากวีนิพนธ์ที่สละสลวย ไพเราะทั้งถ้อยคำและเนื้อความ
ค่านิยม
มงคลทั้ง 38 ประการ ล้วนเป็นค่านิยมทางพระพุทธศาสนา ค่านิยมสูงสุดทางพระพุทธศาสนาก็คือ นิพพาน การดับพร้อมไม่เกิด แก่ เจ็บ ตาย อีกต่อไป
ที่มา http://www.geocities.com/loeipitschool/ingmokol.htm
วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี(งานภาษาไทย)
เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้นะมีรส ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากรวงเป็นเม็ดพราว ล้วนทุกข์ยากลำบากเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดโปนกี่เส้นเอ็น จึงแปรรวงมาเป็นกิน
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง และน้ำแรงอันหลั่งริน
สายเลือดกูทั้งสิ้น ที่สูซดกำซาบฟัน
ผู้แต่ง : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ที่มา : หนังสือ มณีพลอยร้อยแสง หมวด ชวนคิดพิจิตรภาษา
จุดมุ่งหมาย : แสดงให้เห็นถึงทุกข์ของชาวนา โดยผ่านบทกวี
ลักษณะคำประพันธ์ : ความเรียง โดยใช้บรรยาโวหาร - สาธกโวหาร (ยกตัวอย่างบทกวี)
บทกวีของ จิตร ภูมิศักดิ์
แทนตนเองว่าเป็นชาวนา ที่เรียกร้องความเสมอภาค และแสดงถึงความยากลำบาก แสนสาหัส ในการทำนา ปลูกข้าว ให้ทุกคนกิน
ความช่วยเหลือที่สังคมมีต่อชาวนาในด้านปัจจัยการผลิต การพยุงหรือประกันราคา การรักษาความยุติธรรมก็แทบเป็นไปไม่ได้ ทำให้ชาวนาต่างก็ละทิ้งอาชีพเกษตรกรรม ไปอยู่ในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคบริการ แต่ก็ยังมีชาวนาอีกจำนวนหนึ่ง ที่จะขยับขยายตัวเองให่อยู่ในสถานะดีขึ้น ด้วยการปลูกข้าวให้คนอื่นกินต่อไป
หว่านข้าวในฤดูใบไม้ผลิ ข้าวเมล็ดหนึ่ง
จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วง
รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง
แต่ชาวนาก็ยังอดตาย
ตอนอาทิตย์เที่ยงวัน ชาวนายังพรวนดิน
เหงื่อหยดบนดินภายใต้ต้นข้าว
ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น
ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส
บทกวีของ หลี่เชิน
บรรยายภาพอย่างเรียบง่าย แต่แสดงความขัดแย้ง ชาวนาที่ปลูกข้าวมากมาย จนไม่มีที่นาว่าง แต่ชาวนาก็ยังอดตาย มีการใช้โวหารปฏิพากย์ คือ แสดงความขัดแย้ง เช่น รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง แต่ชาวนาก็ยังอดตาย แม้ว่าสภาพบ้านเมืองในเวลานี้จะเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างมากนัก เรื่องความทุกข์ของชาวนายังคงเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจต่อไป
ขอบคุณที่มา http://elibrary.eduzones.com/index.php?title=%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B5
วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
อาการปวดหัว
1. บำบัดด้วยน้ำวางถุงน้ำแข็งบนหน้าผาก หรือจะใช้ผ้าเย็น ๆ โพกศีรษะก็ได้ค่ะทำไปพร้อมกับการแช่เท้าในน้ำอุ่น ค่อย ๆเพิ่มความร้อนของน้ำขึ้น ใช้เวลา 15-20 นาที อาการปวดหัวจะทุเลาลงค่ะ
2. งดอาหารอาหารแสลงบางชนิด เช่น เนื้อรมควัน ชอคโกแล็ค ผงชูรส ไส้กรอก เบคอน และ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน มักเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดหัวได้
3. ใช้วิตามินการขาดวิตามิน B- COMPLEX อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ลองมองหาอาหารที่มี วิตามินบีมาก ๆ เช่น ผักโขม กะหล่ำปลีข้าวซ้อมมือ และอาหารธัญพืชต่าง ๆ
4. ขิงมีงานวิจัยพบว่า ขิงมีคุณสมบัติในการแก้ไมเกรน หากมีอาการปวดหัวในช่วงบ่าย ๆ ลองจิบน้ำขิงอุ่น ๆ สักแก้ว ถ้าไม่สะดวกจะต้มเอง ขืงผงบรรจุซอง ก็สะดวกดีค่ะ
5. น้ำมันหอมน้ำมันหอมกลิ่นลาเวนเดอร์ มีคุณสมบัติในการลดความกระวนกระวายใจได้ ลองนำมานวดบริเวณขมับ ไรผม และต้นคอ จะช่วยผ่อนคลายได้
6. นวดการนวดจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด จะทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้ หาใครสักคนมาคอยนวดที่ต้นคอและช่วงไหล่หรือจะนวดเองก็ได้ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใดค่ะ
7. ไปเดินเล่นสักห้านาทีการเดินเล่นจะทำให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดฟินส์ ซึ่งเป็นยาแก้ปวดขนานเอก
8. ดนตรีบำบัดถ้าคุณปวดหัวจากความเครียด ในทางการแพทย์ค้นพบว่า ดนตรีช่วยบำบัด อาการได้ โดยเฉพาะดนตรีทีมีท่วงทำนองเรียบง่ายฟังสบาย ๆ อาจมีสรรพเสียง ของธรรมชาติ เช่น เสียงนกร้องเกลียวคลื่น เสียงนก หรือลมฝน จะช่วยกล่อมจิตใจให้สงบนิ่งขึ้นช่วยลดความตึงเครียดได้
เป็นวิธีแก้อาการปวดหัว แบบธรรมชาตกันจริงๆ ใครชอบแบบไหนก็ลองทำดูนะคะ รับรองว่าไม่มีผลข้างเคียงใดๆ แต่ถ้าทำทุกวิธีแล้วยังไม่หาย ก็ก็ถึงเวลาที่คุณควรไปพบแพทย์แล้วล่ะค่ะ
ที่มา http://www.expert2you.com/view_article.php?art_id=870
วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
ที่มาของสีประจำวันเกิด
พระอาทิตย์มีกายสีแดง เกิดจากพระอิศวรร่ายพระเวทให้ราชสีห์ ๖ ตัว กลายเป็นผง แล้วห่อด้วยผ้าสีแดง ประพรมด้วยน้ำอมฤต
พระจันทร์มีกายสีเหลือง เกิดจากพระอิศวรร่ายพระเวทให้นางฟ้า ๑๕ นาง กลายเป็นผง แล้วห่อด้วยผ้าสีเหลือง ประพรมด้วยน้ำอมฤต
พระอังคารมีกายสีชมพู เกิดจากพระอิศวรร่ายพระเวทให้กระบือ ๘ ตัว กลายเป็นผง แล้วห่อด้วยผ้าสีชมพู ประพรมด้วยน้ำอมฤต
พระพุธมีกายสีเขียว เกิดจากพระอิศวรร่ายพระเวทให้ช้าง ๑๗ ตัว กลายเป็นผง แล้วห่อด้วยผ้าสีเขียว ประพรมด้วยน้ำอมฤต
พระพฤหัสบดีมีกายสีแสด เกิดจากพระอิศวรร่ายพระเวทให้พระฤๅษี ๑๙ ตน กลายเป็นผง แล้วห่อด้วยผ้าสีแสด ประพรมด้วยน้ำอมฤต
พระศุกร์มีกายสีน้ำเงิน เกิดจากพระอิศวรร่ายพระเวทให้โค ๒๑ ตัว กลายเป็นผง แล้วห่อด้วยผ้าสีน้ำเงิน ประพรมด้วยน้ำอมฤต
พระเสาร์มีกายสีดำ เกิดจากพระอิศวรร่ายพระเวทให้เสือ ๑๐ ตัว กลายเป็นผง แล้วห่อด้วยผ้าสีดำ ประพรมด้วยน้ำอมฤต
ตอนนี้ก็คงจะทราบกันแล้วว่า สีประจำวันเกิดตัวเองมีที่มาอย่างไร
ที่มา http://hilight.kapook.com/view/30524
วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
โรควุ้นลูกตาเสื่อม
ที่มา http://www.yenta4.com/webboard/viewtopic.php?cate_id=64&post_id=1281427
ทำไม ? ต้องขอโทษ..และทำไม ? ต้องให้อภัย...
การขอโทษก็เป็นธรรมะขั้นสูงอีกอย่าหนึ่งเช่นกัน..เพราะไม่มีใครที่จะไม่ยอมยกโทษให้กับผู้ที่ผิดแล้ว>>>...กล่าว "คำขอโทษ"..
คนที่ไม่เคยยอมให้อภัยใคร..>>>...ก็คือ..คนที่ไม่เคยขอโทษใคร..ถ้าเราไม่รู้จักขอโทษและไม่รู้จักที่จะให้อภัยใคร>>>....ในใจของเราก็จะสะสมหรือเต็มไปด้วยอารมณ์ร้ายต่าง ๆ>>>....โดยเฉพาะอารมณ์โกรธที่จะคอยเผาไหม้ลนจิตใจเรา..ถ้าเราไม่รู้จักขอโทษและไม่รู้จักที่จะให้อภัยใคร>>>....ในใจของเราก็จะสะสมหรือเต็มไปด้วยอารมณ์ร้ายต่าง ๆ>>>....โดยเฉพาะอารมณ์โกรธที่จะคอยเผาไหม้ลนจิตใจเรา..จงรู้จักขอโทษ และยอมให้อภัยเพราะยิ่งให้อภัยมากเท่าไร...ยิ่งเบาสบาย..>>>...ขอโทษ ...(สบายใจ)..>>>...ให้อภัย....(สบายจิต)...ทั้งขอโทษและให้อภัย..จะสบายทั้งกายและสบายทั้งจิต..
ที่มา http://planet.kapook.com/chaynoi3/blog/viewnew/104800
วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551
Dos & Don’ts ปัญหาคอนแท็คเลนส์
Fungul Keratitis เมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา ขอให้สบายใจได้แล้วครับ เพราะทางอย. (องค์การอาหารและยา) บ้านเรา
ได้ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเรื่องนี้หลังจากการพิสูจน์ไปเรียบร้อยแล้วว่า อาการกระจกตาอักเสบดังกล่าวมีสาเหตุที่แท้จริงมาจากพฤติกรรมการใช้ของผู้บริโภค ไม่ใช่ความผิดพลาดที่เกิดจากสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อย่างที่หลายคนเข้าใจ และเพื่อความปลอดภัย ในระยะยาวของสุขภาพตาของคุณที่ใช้คอนแท็คเลนส์อยู่เป็นประจำ เราจึงนำข้อ ‘ควรทำ’ และ ข้อ ‘ไม่ควรทำ’ ง่ายๆ มาแนะนำให้คุณได้นำไปลองปฏิบัติกันดู
Dos
- ทำความสะอาดคอนแท็คเลนส์ในน้ำยาทำความสะอาดไม่กว่าน้อย 4 ชั่วโมงหรือ ตามระยะเวลาตามที่ฉลากกำหนด
- หลังจากทำความสะอาดเลนส์เรียบร้อยแล้ว ควรเก็บเลนส์ในภาชนะที่สะอาดอยู่เสมอ
- เปลี่ยนเลนส์ตามคำแนะนำหรือระยะเวลาที่กำหนด เนื่องจากคอนแท็คเลนส์มีอายุการใช้งานที่จำกัดแตกต่างกันไป
- หากคอนแท็คเลนส์ฉีกขาด จนทำให้ตาระคายเคือง บวม ตาแดง มองไม่ชัด หรือไวกว่าแสงเพิ่มขึ้น ควรรีบถอดออกทันที ก่อนพบและปรึกษาในจักษุแพทย์
- พกแว่นตาสำรองติดตัว ในกรณีที่คอนแท็คเลนส์ฉีกขาดหรือหล่นหาย
Don’ts
- สำหรับผู้เริ่มใช้เป็นครั้งแรก ไม่ควรซื้อคอนแท็คเลนส์ด้วยตัวเอง เนื่องจากอาจได้ชิ้นเลนส์ที่ไม่เหมาะกับขนาดของดวงตา ซึ่งปัญหานี้ก็สามารถแก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยการพบและปรึกษาจักษุแพทย์
- ไม่ใส่คอนแท็คเลนส์ขณะว่ายน้ำ
- ไม่ใส่คอนแท็คเลนส์ขณะที่คุณนอนหลับ
- ไม่ใช้คอนเเท็คเลนส์ร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากเป็นเลนส์สัมผัส อาจทำให้มีการติดเชื้อเกิดขึ้นได้
- ไม่สัมผัสเลนส์ขณะมือสกปรก ทางที่ดีควรล้างมือให้สะอาดและรอให้แห้งก่อนสัมผัสเลนส์ทุกครั้ง
วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ขอร้อง...อย่ามาโทษความรักทำให้คุณร้องไห้
ปิดเทอม
เพื่อนๆคิดเหมือนกันหรือป่าวค่ะ
อยากเปิดเทอมไวๆจัง คิดถึงเพื่อนๆ
งืม...แต่อีกไม่กี่วันเกรดก็จะออกแล้ว
กำลังเครียดอยู่เลย...เกรดไม่ดีแน่เลยเรา
เศร้าใจจัง.........
วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551
วิธีดูแลตัวเอง เมื่อต้องเดินตากฝน
ขณะที่เพิ่งออกจากที่ทำงานได้ไม่นาน ฝนตกลงมาพอดี และบังเอิญคุณหาที่หลบฝนไม่ทัน หลายคนบอกว่าไม่ได้ตั้งใจจะเป็นพระเอกมิวสิกวิดีโอสักหน่อย แต่ทำอย่างไรได้ ฝนตกลงมาพอดี ถ้ารอให้ฝนหยุดก็อาจจะกลับบ้านช้า ก็เลยมีบางครั้งที่ทำให้เราเผลอเดินตากฝนโดยไม่ตั้งใจ ผลที่เกิดขึ้นนอกจากเสื้อผ้าจะเปียกชื้น และร่างกายของคุณหนาวเหน็บแล้ว ยังเป็นการเสี่ยงต่อการติดเชื้อ อันเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคผิวหนังอีกด้วย
วิธีการดูแลรักษากรณีเดินลุยฝน
1. เริ่มต้นจากการทำเสื้อผ้าให้แห้งสนิท โดยเร็ว
2. เมื่อกลับถึงบ้านให้คุณรีบเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที เหตุผลก็คือการใส่เสื้อผ้าเปียกๆ ก่อให้เกิดการหมักหมม และอาจกลายเป็นแหล่งเชื้อราโดยที่เราไม่รู้ตัวก็ได้ และอาจทำให้คุณไม่สบายเป็นหวัด รวมไปถึงเป็นปอดบวมได้อีกด้วย
3. แน่นอนที่ถุงเท้ากับรองเท้าย่อมเปียกฝน เพราะฉะนั้นให้คุณถอดออกทันที และควรเร่งทำให้แห้งแต่โดยเร็ว
4. เราควรเรียนรู้ว่าการปล่อยให้เท้าเปียกชื้นนานๆ ส่งผลให้เท้าซีด และอาจลอกเป็นขุยได้
5. คุณต้องเข้าใจว่าหากปล่อยให้เท้าชื้นนานๆ อาจจะทำให้ติดเชื้อราได้ง่าย ทั้งนี้ โรคเชื้อราที่พบบ่อยคือ ฮ่องกงฟุต โดยเฉพาะที่บริเวณซอกนิ้วเท้า
6. เมื่อกลับมาถึงบ้าน และเท้ายังเปียกชื้น อันเป็นผลมาจากการย่ำน้ำในซอยของหมู่บ้าน ให้คุณเร่งทำความสะอาดที่เท้าด้วยการฟอกสบู่ จากนั้นก็ล้างด้วยน้ำสะอาด ต่อมาก็เช็ดเท้าให้แห้ง
7. การใช้แป้งฝุ่นทาที่เท้าหลังทำความสะอาดจะช่วยให้เท้าสบายมากขึ้น
วิธีการดูแลเส้นผม
1. เมื่อกลับมาถึงบ้านให้คุณเร่งทำความสะอาดเส้นผม ด้วยการสระผมด้วยแชมพูสระผมหรือผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมไปเลย
2. จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณอาจจะต้องใช้แชมพูสระผมที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา นั่นเป็นเพราะว่าการที่คุณเดินตากฝนนั้น อาจจะมีเชื้อโรคปะปนมา และการที่คุณไม่ยอมสระผมในค่ำคืนนั้นเลยเส้นผมของคุณอาจเกิดอาการได้รับเชื้อราและรังแคได้ เพราะฉะนั้นให้สระผมหลังจากที่คุณเพิ่งเดินตากฝน
3. ที่สำคัญก็คือคุณไม่ควรนอน ในขณะที่เส้นผมยังเปียกน้ำฝนอยู่
หลักการง่ายๆ ที่กล่าวมานี้จะช่วยให้คุณใช้ชีวิตอย่างสบายๆ ไม่ต้องวิตกกังวลกับฝนที่กระหน่ำตกลงมานัก ทว่าวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ก็คือ การหลีกเลี่ยง ไม่เดินตากฝนนั่นเอง
ที่มา...http://hilight.kapook.com/view/28901
วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551
-38นางสาวกสินา กาลศรี4/3http://blog.hunsa.com/kasinanaka
- 39นางสาวนภัส บุญญานุเคราะห์สุข4/3> http://blog.hunsa.com/jazzieez
-40นางสาวปาณิศา รอดไป4/3> http://blog.hunsa.com/violetfruityii
-41นางสาววิลาสินี อนุพงษ์พัฒน์4/3> http://blog.hunsa.com/maiizy
-42นางสาวอรอนงค์ ชูใจ4/3http://blog.hunsa.com/onanong42
-43นางสาวอุไรรัตน์ ชินโสด4/3>http://blog.hunsa.com/poohbaba
-01นายคณาวุฒิกล่ำทอง4/3>http://blog.hunsa.com/bbkanawut23
-02.................... 4/3>......................................................
-03นายชานน แสนสุข4/3>http://keroziixy.blogspot.com/
- 04นายณัฐพล พุทธถาวร4/3> http://blog.hunsa.com/nattaponcutter
-37นางสาวปาริดา รื่นเริง4/2> http://pladownbombaybplover.blog.mthai.com/
-37........................4/1>...................................................
วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551
กีฬาสีค่ะ
ได้เป็นการผ่อนคลายจากการเรียน
นั้นก็คือ....
กีฬาสี..นั้นเอง
มีกิจกรรมต่างๆมากมายให้ทำ
ไม่ว่าจะแข่งกีฬา
เต้นแอโรบิคหรือซ้อมเชียร์ต่างๆ
แถมยังเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์
ระหว่างเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆเลือดกรมท่าขาวของพวกเรา
ส่วนตัวของข้าพเจ้านั้น
ได้ลงแข่งฟุตบอลหญิงรุ่นรวมหญิง
ได้ลงแข่ง2นัด
นัดแรกไม่อยากจะกล่าวถึง...?
ส่วนนัดที่ 2 แพ้ยิงจุดโทษ
เลยต้องตกรอบไปตามระเบียบค่ะ
สีเหลืง........สู้ๆๆ.......ที่สุดแล้วค่ะ
วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551
เรื่องย่อนิทานเวตาล
ณ ฝั่งแม่น้ำโคทาวรี มีพระมหานครแห่งหนึ่งตั้งอยู่นามว่า
ประดิษฐาน ที่เมืองนี้ในสมัยบรรพกาลมีพระราชาธิบดีองค์หนึ่ง
ทรงนามว่า ตริวิกรมเสน ได้ครองราไชศวรรย์มาด้วยความผาสุก
พระองค์เป็นราชโอรสของพระเจ้าวิกรมเสนผู้ทรงเดชานุภาพเทียมท้าววัชรินทร์
ต่อมาได้มีนักบวชชื่อ ศานติศีล ได้นำผลไม้มาถวายทุกวันมิได้ขาด
ซึ่งพระราชาแปลกใจ และได้ไปพบในคืนหนึ่งตามนัด ได้ถามถึงเหตุผล
และเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ โยคีศานติศีลจอมเจ้าเล่ห์ได้ขอให้พระราชาตริวิกรมเสน
นำเวตาลมาให้ตนเพื่อจะประกอบมหายัญพิธี
พระราชาผู้มีสัจจะเป็นมั่น ได้ไปนำเวตาลมาให้โยคีเจ้าเล่ห์
แต่เวตาลก็พยายามหน่วงเหนี่ยวด้วยการเล่านิทานทั้งสิ้น ๒๔ เรื่องด้วยกัน
ซึ่งแต่ละเรื่องจะมีคำถามให้พระราชาตอบ โดยมีข้อแม้ว่า หากพระราชาทราบคำตอบแล้ว
ไม่ตอบ ศีรษะของพระราชาจะต้องหลุดจากบ่า และหากพระราชาเอ่ยปากพูด
เวตาลก็จะกลับไปสู่ที่เดิม
และก็เป็นดังนั้นทุกครั้ง ที่พระราชาตอบคำถามของเวตาล
เวตาลก็จะหายกลับไปสู่ต้นไม้ที่สิงที่เดิม พระราชาก็จะเสด็จกลับไปเอาตัวเวตาลทุกครั้งไป
จนเรื่องสุดท้ายพระราชาไม่ทราบคำตอบ ก็ทรงเงียบไม่พูด เวตาลพอใจในตัวพระราชามาก
เพราะเป็นพระราชาผู้ไม่ย่อท้อ ผู้มีความกล้าหาญ ทำให้เวตาลบอกความจริง
ในความคิดของโยคีเจ้าเล่ห์ ว่าโยคีนั้นแท้จริงแล้ว ต้องการตำแหน่งราชาแห่งวิทยาธร
โดยจะเอาพระราชาเป็นเครื่องสังเวยในการทำพิธี และอธิบายถึงวิธีกำจัดโยคีเจ้าเล่ห์
เมื่อพระราชาเสด็จมาถึงโยคีตามที่นัดหมายไว้ ก็ปรากฎว่าโยคี
ได้เตรียมการทำอย่างที่เวตาลได้บอกกับพระราชาไว้ พระราชาจึงแก้โดยทำตาม
ที่เวตาลได้อธิบายให้พระราชาฟัง พระราชาจึงได้ตำแหน่งราชาแห่งวิทยาธร
และเวตาลได้บอกกับพระราชาตริวิกรมเสนว่า "ตำแหน่งนี้ได้มาเพราะ
ความดีของพระองค์ ตำแหน่งนี้จะคอยพระองค์อยู่หลังจากที่ทรงเสวยสุข
ในโลกมนุษย์จนสิ้นอายุขัยแล้ว ข้าขอโทษในกาลที่แล้วมาในการที่ยั่วยวน
ประสาทพระองค์ แต่ก็ไม่ทรงถือโกรธต่อข้า บัดนี้ข้าจะถวายพรแก่พระองค์
ขอทรงเลือกอะไรก็ได้ตามใจปรารถนาเถิด" พระราชาก็ตรัสว่า
"เพราะเหตุที่เจ้ายินดีต่อข้า และข้าก็ยินดีในความมีน้ำใจของเจ้าเช่นเดียวกัน
พรอันใดที่ข้าจะปรารถนาก็เป็นอันสมบูรณ์แล้ว ข้าเพียงแต่อยากจะ
ขออะไรสักอย่างเป็นที่ระลึกระหว่างข้ากับเจ้า นั่นก็คือนิทานที่เจ้ายก
ปัญหามาถามข้าถึงยี่สิบสี่เรื่อง และคำตอบของข้าก็ให้ไปแล้วเช่นเดียวกัน
แลครั้งที่ยี่สิบห้าคือวันนี้ถือเป็นบทสรุป แสดงอวสานของเรื่อง
ขอให้นิทานชุดนี้จงมีเกียรติแพร่กำจายไปในโลกกว้าง”
เวตาลก็สนองตอบว่า “ขอจงสำเร็จ โอ ราชะ บัดนี้จงฟังเถิด
ข้าจะกล่าวถึงคุณสมบัติที่ดีเด่นของนิทานชุดนี้ สร้อยนิทานอันร้อยรัดเข้า
ด้วยกันดังสร้อยมณีสายนี้ ประกอบด้วยยี่สิบสี่เรื่องเบื้องต้น แลมาถึงบทที่ยี่สิบห้า
อันเป็นบทสรุปส่งท้าย นับเป็นปริโยสาน นิทานชุดนี้จงเป็นที่รู้จักกันในนามของ
เวตาลปัญจวิงศติ (นิทานยี่สิบห้าเรื่องของเวตาล) จงมีเกียรติยศบันลือไปในโลก
และนำความเจริญมาสู่ผู้อ่านทุกคน ใครก็ตามที่อ่านหนังสือแม้แต่โศลกเดียว
หรือเป็นผู้ฟังเขาอ่านก็เช่นเดียวกัน จักรอดจากคำสาปทั้งมวล บรรดาอมนุษย์ทั้งหลาย
มียักษ์ เวตาล กุษมาณฑ์ แม่มด หมอผีและรากษส ตลอดจนสัตว์โลกประเภทเดียวกันนี้
จงสิ้นฤทธิ์เดชเมื่อได้ยินใครอ่านนิทาน อันศักดิ์สิทธิ์นี้”
พระศิวะได้ฟังเรื่องของต่าง ๆ ของเวตาลจบก็กล่าวชื่นชมในองค์
พระราชาตริวิเสนมาก ซึ่งพระศิวะได้สร้างจากอนุภาคโดยให้มาปราบอสูรคนร้ายต่าง ๆ
เมื่อพระราชาตริวิกรมเสนได้เป็นจอมราชันแห่งวิทยาธรทั้งโลกและสวรรค์แล้ว
ก็เกิดความเบื่อหน่าย หันไปบำเพ็ญทางธรรมจนบรรลุความหลุดพ้น
ประเพณีวิ่งควาย
ปัจจุบัน ประเพณีวิ่งควายในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จะจัดใน
ในวันนี้นอกจากจะจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย ประกวดความงามของควาย
วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551
-คลิ๊กเพื่อชม slide show วันแม่
ของนางสาวศิวาพร ทองขาว ม.4/3 เลขที่ 37
http://www.tempf.com/getfile.php?filekey=1218515297.29545_12_________2551.rar&mime=application/rar
วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551
Dream of occupation
teachers are people who give knowledge for everyone.
I will see my students have a good people in society and
my students will grow up to be come good people in a
profession. I will my student made a right thing for they
future because be togcther to development my national.
Night markets
I want to buy a lot of food and sweet.
And I walk around the night markets.
Addictive personality
รายงานเรื่องวรรณกรรมของขังหวัดเพชรบุรี
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งเป็นรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่บ้านหนองว้าเมืองเพชรบุรี มีเด็กชายคนหนึ่งชื่อเดิมไม่ปรากฏ กำพร้ามารดาอยู่กับพี่สาว วันหนึ่งตำข้าวหกถูกพี่สาวไล่ตี จึงหนีออกจากบ้านด้วยความใจเพชร อดอยากเร่ร่อนไปเรื่อยๆ วันหนึ่งเล่นน้ำอยู่กับเพื่อนหน้าวัดใหญ่เมืองเพชรบุรี เห็นเปลือกแตงโมลอยมา ด้วยความหิวจึงคว้าเปลือกแตงโมลงไปกินใต้น้ำ เพื่อนๆ ก็ล้อว่าเด็กกินเปลือกแตงโม และเรียกว่าเด็กแตงโมในที่สุด วันนั้นเป็นวันพิธีมงคลการ เด็กแตงโมนอนในวัดใหญ่นี้ คืนนั้นสมภารวัดจึงเกิดนิมิตร ฝันว่าจะมีผู้มีบุญวาสนามาอยู่ด้วย เข้าใจว่าเป็นเด็กแตงโมคนนี้จึงชวนให้อยู่ด้วย และให้บวชเรียนศึกษาพระธรรมวินัยจนสิ้นภูมิรู้ของอาจารย์ต่างๆ ในเมืองเพชร ท่านสมภารจึงพาไปศึกษาต่อที่วักในกรุงศรีอยุธยา ได้เรียนปริยัติศาสนาจนจบพระปิฎกไตร ได้เป็นเปรียญและได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีชื่อเสียงโด่งดังจนเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระอาจารย์สอนพระราชบุตร พระราชนัดดา เมื่อพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้นเสวยราชย์ จึงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นที่พระราชาคณะ เรียกกันภายหลังว่า สำเร็จเจ้าแตงโม หรือสมเด็จเจ้าแตงโม
สมเด็จเจ้าแตงโมเป็นผู้มีความกตัญญูต่อภูมิลำเนาเดิม ต่อมาจึงถวายพระพรลาพระเจ้าแผ่นดินกลับไปบูรณะปฏิสังขรณ์วัดใหญ่ที่ท่านเคยพำนักมาก่อน และพระเจ้าแผ่นดินยังโปรดเกล้าฯ พระราชทานท้องพระโรงซึ่งเป็นตัวไม้ไปสร้างศาลาการเปรียญด้วย ที่วัดนี้สมเด็จเจ้าแตงโมได้หล่อรูปท่านไว้ด้วยฝีมือของตาแป๊ะหลังโกง ของสำคัญท่านยังเหลืออยู่คือฝาบาตรมุก กล่าวกันว่าสมเด็จเจ้าแตงโมมีชื่อเดิมว่าทอง และได้สมณศักดิ์เป็นที่พระวัดสุวรรณมุนี วัดใหญ่ที่ท่านซ่อมแซมจึงได้นามว่า วัดสุวรรณาราม สมเด็จเจ้าแตงโมมรณภาพขณะที่ดูแลการสร้างและบูรณะ พระพุทธบาท สระบุรี
ด้านสถาปัตยกรรม
1. ปรางค์วัดกำแพงแลง อยู่ในเขตอำเภอเมือง เป็นโบราณสถานที่สร้างด้วยศิลาแลงฉาบปูนประดับด้วยลายปูนปั้น ลักษณะทางด้านศิลปกรรมไม่ว่าที่ปรางค์หรือปราสาท ล้วนแต่แสดงถึงรูปทรงของวัตถุของสถาปัตยกรรมแบบบายน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปที่ชื่อว่า “หลวงพ่อเพชร”
2. ศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณาราม ลักษณะเป็นอาคารไม้ที่สร้างใน สมัยอยุธยา มีขนาดใหญ่ประมาณ 10 ห้อง มีเสาแปดเหลี่ยมเรียงกัน 4 แถว ๆละ11 ต้น รวม 44 ต้น ในศาลามีธรรมาสน์ยอด 2 หลัง หลังหนึ่งเป็นฝีมือช่างปัจจุบันส่วนอีกหลังหนึ่งมีสภาพชำรุดใช้การไม่ได้แล้ว สร้างโดยช่างที่เป็นยอดฝีมือครั้งอยุธยา ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงชมว่างามเหลือพรรณา เล่ากันว่าศาลานี้เดิมเป็นพระตำหนักของพระเจ้าเสือ แต่ได้พระราชทานให้สมเด็จพระสังฆราชแตงโมนำมาปลูกสร้างเป็นศาลาการเปรียญของวัด
3.พระอุโบสถวัดมหาสมณาราม วัดมหาสมณารามหรือที่คนทั่วไปเรียกว่าวัดเขาวัง มีพระอุโบสถเป็นอาคารไทยขนาดกลาง หลังคาซ้อนสองชั้นมุงด้วยกระเบื้องเคลือบ มีช่อฟ้าใบระกาและหางหงส์งดงามยิ่ง หน้าบันมีลายปูนปั้นเป็นสัญลักษณ์ของรัชกาลที่ 4 เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎตรงด้านหน้าและด้านหลังของพระอุโบสถ ทำเป็นศาลาขวางอยู่ชิดกับตัวโบสถ์ ผนังก่อด้วยอิฐฉาบปูน ทำเป็นช่องโค้งแหลม และลักษณะที่แปลกตาก็คือ ใบเสมาหินอ่อนสลักลวดลายเป็นรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นแบบที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 4
4. โบสถ์วัดกุฏิบางเค็ม วัดกุฏิตั้งอยู่ในเขตอำเภอเขาย้อย ตัวโบสถ์เป็นไม้มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาโบสถ์ไม้ที่มีอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี เฉพาะส่วนที่กั้นฝามีขนาดยาว 7 ห้อง กว้าง 3 ห้อง และมีมุขยื่นออกไปด้านหน้าและด้านหลัง ด้านละ 1 ห้อง และทำเป็นพาไลอีก 1 ห้อง โดยรอบอาคารหน้าบันจำหลักไม้ และฝาแกะสลักซึ่งมีทั้งหมด 20 แผง ถือว่าเป็นโบสถ์ที่มีฝาแกะสลักไม้ทั้งหลังเพียงแห่งเดียวเท่านั้น
5.วัดสระบัว อยู่เชิงเขาวัง มีพระอุโบสถที่สร้างในสมัยอยุธยา ฐานอ่อนโค้งทรงเรือสำเภา พัทธสีมารอบพระอุโบสถเป็นงานปูนปั้นศิลปะสมัยอยุธยาโดยสมบูรณ์ตั้งแต่ฐานจนถึงยอด ที่ฐานเป็นลายปูนปั้นยักษ์แบกอยู่ทั้งสี่ด้าน ชั้นที่สองถัดขึ้นมาเป็นลายปูนปั้นรูปครุฑ ชั้นที่สามเป็นลายรูปกระจังชั้นที่สี่ เป็นลายรูปดอกบัว และบนสุดเป็นใบเสมาคู่ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้มีความสูงรวมกัน 2.50 เมตร นับได้ว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาแท้ของจังหวัดเพชรบุรี
ด้านประติมากรรม
1. ปูนปั้นวัดไผ่ล้อม ปูนปั้นหน้าบันวัดไผ่ล้อมมีลวดลายให้ชมกันสองหน้าบันปั้นเป็นภาพ ปราสาทเจ็ดชั้น ศาลา เชิงผา ภูเขา ต้นไม้ และภาพพระรูปปางต่าง ๆ ฝีมือการปั้นยอดเยี่ยมมาก ภาพปูนปั้นผนังด้านนี้เมื่อต้องแสงจะทำให้เกิดเงาสลับซับซ้อนดูลุ่มลีกลดหลั่นเป็นชั้นช่อง แสดงถึงฝีมือความเป็นเลิศในแนวคิดและฝีมือช่างอย่างหาที่เปรียบมิได้
2. ปูนปั้นวัดใหญ่สุวรรณาราม เป็นรูปแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย สังเกตจากลวดลายกนก อ่อนพริ้วแตกก้านแตกช่อออกลายประสานกลมกลืนกัน ภาพประกอบมักนิยมเป็นรูปครุฑรูปนารายณ์ทรงครุฑและรูปนารายณ์เหยียบบ่าอสูรเป็นส่วนมาก
3. รูปปั้นวัดเขาบันไดอิฐ หน้าบันโบสถ์ทางด้านทิศตะวันออกมีศิลปะปูนปั้นเต็มหน้าบัน ปั้น เป็นรูปครุฑ ประกอบด้วยลายพุ่มปลายสะพัดดังเปลวไฟถัดจากลายพุ่มเป็นลายกนกก้านขดข่อหางโต พื้นประดับกระจก
4. ปูนปั้นฐานเสมาวัดสระบัว ฐานเสมาชั้นล่างเป็นภาพยักษ์แบกใช้มือดันฐานเสมาชั้นบน ส่วน ด้านข้างและด้านหลังปั้นเป็นคนพวกสิบสองภาษา สำหรับด้านหน้าโบสถ์ปั้นเป็นพวกอมนุษย์
5 .ปูนปั้นวัดมหาธาตุวรวิหาร ปูนปั้นที่วิหารหลวงวัดนี้งดงามเด่นสง่าเป็นที่ตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก เป็นฝีมือชั้นครูในสมัยรัตนโกสินทร์ของชาวเพชรบุรี
6 .ปูนปั้นวัดพลับพลาชัย มีลายปูนปั้นที่ซุ้มประตุทางซ้ายมือเป็นภาพหนุมานเข้าห้องนางวารินท์ ส่วนซุ้มทางขวามือเป็นภาพวิรุญจำบังล้ม
7. ปูนปั้นวัดปากคลอง เป็นงานปูนปั้นที่แสดงให้เห็นถึงฝีมือและชั้นเชิงของช่างโดยเฉพาะภาพ เทพพนมและลายดอกไม้ และที่น่าทึ่งก็คือ การลงสีในงานปูนปั้นซึ่งทำได้งดงามน่าชมยิ่งนัก
8 .ใบเสมาวัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นใบเสมาคู่ทำด้วยหินทรายแดง บนแท่งสูง 120 เซนติเมตร จำหลักลวดลายเต็มทั้งแผ่น มีซุ้มเสมาแบบกูบข้าง ลายที่ฐานเสมาแกะสลักเป็นรูปดอกไม้เรียงกัน
ด้านจิตรกรรม
1. จิตกรรมผาผนังวัดใหญ่สุวรรณาราม มีลักษณะเป็นภาพเขียนเต็มผนังซึ่งบางส่วนลบเลือนเกือบหมด แต่ยังพอเห็นร่องลอยของความงดงามได้ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี กล่าวว่า “ช่างที่อยู่ในสมัยที่ภาพเขียนเจริญถึงขีดสุดเท่านั้น” จึงจะสามารถวาดภาพจิตรกรรมที่งดงามเช่นนี้ได้
2. จิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะแก้ว จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์ที่นี่เขียนขึ้นในสมัยอยุธยาใช้สีใสสว่างน่าชม
3 .จิตรกรรมฝาผนังวัดมหาสมณาราม เป็นกลุ่มช่างขรัวอินโข่งและลูกศิษย์ท่านขรัวอินโข่งเป็นชาวเพชรบุรี และเป็นจิตกรเอกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
4. ภาพจิตกรรมฝาผนังในพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ เป็นฝีมือช่างเพชรบุรี ได้แก่ ครูพิณ อินฟ้าแสง ครูเลิศ พ่วงพระเดช หลวงพ่อฤทธิ์ ครูหวนตาลวันนา พระอาจารย์เป้า วัดพระทรง
บรรณานุกรม
http://intranet.m-culture.go.th/phetchaburi/le1.htm
http://www.geocities.com/clcseacon/phetburi.html
วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
รายงานเรื่องวรรณคดีสมัยสุโขทัย
ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัยมั่นคงเป็นปึกแผ่นขึ้น หลังจากที่เข้ามามีอำนาจเหนือขอมได้เมื่อ ประมาณพ.ศ.๑๘๐๐ โดยพ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองบางยาง และพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ได้รวมกำลังกันยกกองทัพมาตีเมืองสุโขทัย ซึ่งเป็นเมือง ใหญ่หน้าด่าน ของขอม มีผู้ปกครอง เมืองเรียกว่าขอมสมาดโขลญลำพงรักษาเมืองอยู่ เมื่อตีกรุงสุโขทัยได้แล้ว พ่อขุนผาเมืองก็ได้ อภิเษกให้พ่อขุนบางกลางหาว เป็นเจ้าเมืองครองกรุงสุโขทัย มีพระนาม ตามอย่างที่ขอม เคยตั้งนามเจ้าเมืองสุโขทัยแต่ก่อนว่า "ศรีอินทรปตินทราทิตย์" แต่ในศิลาจารึกของ พ่อขุนรามคำแหงว่า "พ่อขุนศรีอินทราทิตย์" ซึ่งเป็นต้นราชวงศ ์ สุโขทัย (ราชวงศ์พระร่วง)
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีมเหสีชื่อนางเสือง มีพระราชโอรส ๓ พระองค์ องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ ตั้งแต่ยังเยาว์องค์กลางมีนามว่าบานเมือง และองค์เล็กมีนามว่า พระรามคำแหงในรัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย ์อาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรเล็กๆมีอาณาเขต ดังนี้ ทิศเหนือ จดอาณาจักรหริภุญชัย อาณาจักรลานนาไทยอาณาจักรพะเยาทิศตะวันตก จดเมืองฉอด
เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรคต พ่อขุนบานเมืองได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒ และได้ทรงตั้งพระรามคำแหงเป็นมหาอุปราชครองเมืองชะเลียง พ่อขุนบานเมือง ได้ครองราชย์ อยู่จนถึงราว พ.ศ. ๑๘๒๒ ก็สวรรคต พ่อขุนรามคำแหง (พระอนุชา)จึงขึ้นครองราชย์ เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๓ พระองค์ทรงเป็นนักรบที่ปรีชาสามารถ ก่อนครองราชสมบัติ เคยทรงชนช้างชนะเจ้าเมืองฉอด และในสมัยของพระองค์อาณาจักรสุโขทัยสงบราบคาบ กว้างใหญ่ไพศาล มีการเจริญสัมพันธไมตรีฉันเพื่อนกับพระเจ้าเม็งราย แห่งเชียงใหม่ พระยางำเมืองแห่งพะเยา และในขณะเดียวกันก็ได้เจริญสัมพันธไมตรีกับมอญ เล่ากันว่า มะกะโทกษัตริย์มอญ ทรงเป็นราชบุตรเขยของพระองค์ นอกจากนี้ทรงได้เจริญสัมพันธไมตรี กับจีน จนได้ช่างฝีมือชาวจีนมาปรับปรุงคุณภาพของเครื่องสังคโลกในสุโขทัย และในรัชสมัย พ่อขุนรามคำแหงนี้เริ่มมีวรรณคดีที่จารึกเป็นหลักฐานของชาติขึ้นเป็นครั้งแรก
สุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลงหลังสมัยพ่อขุนรามคำแหง พระเจ้าเลอไทยกษัตริย์องค์ที่ ๔ ไม่ทรงมีพระปรีชาสามารถและเข้มแข็งเท่าพระราชบิดา ทำให้หัวเมืองต่าง ๆ พากัน แข็งข้อ เป็นอิสระพระเจ้า อู่ทองเจ้าเมืองอู่ทองหรือสุพรรณภูมิ ได้ทรงขยาย อาณาเขต กว้างขวางขึ้นและทรงสถาปนาอยุธยาเป็นราชธานี ใน พ.ศ. ๑๘๙๓ (ค.ศ. ๑๓๕๐)
พระเจ้าเลอไทยสวรรคตใน พ.ศ. ๑๘๙๐ มีการแย่งราชสมบัติระหว่างราชโอรส ๒ พระองค์ พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ได้ทรงครองราชสมบัติแทน พระองค์เป็น กษัตริย์ที่ทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ทรงอุทิศเวลา ศึกษาพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ทรงนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วงทรงสร้างวัดและสถูปเจดีย์ต่าง ๆ มากมาย และสร้างสถานที่ สำคัญต่าง ๆในสุโขทัยอีกหลายแห่ง
พระมหาธรรมราชาที่ ๒ ราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ได้ทรงสืบ ราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา
อำนาจกรุงสุโขทัยได้สิ้นสุดลงหลังจากได้เอกราชมาประมาณ ๑๔๐ ปี เมื่อ กองทัพของพระเจ้าบรมราชาที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยาตีได้ใน พ.ศ. ๑๙๒๑ แต่ราชวงศ์สุโขทัยยังคงครองสุโขทัยสืบต่อมาอีกประมาณ ๖๐ ปีจนถึงสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๔ พระเจ้าบรมราชาที่ ๒แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเปลี่ยนแปลงการปกครอง อาณาจักร สุโขทัยเสียใหม่ โดยทรงตั้งสมเด็จพระราเมศวร พระราชโอรสไปครองพิษณุโลก การปฏิบัติ เช่นนี้ถือว่าเป็นการสิ้นสุดอำนาจของราชวงศ์สุโขทัยอย่างเด็ดขาดและสุโขทัยกลายเป็น ส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่นั้นมา
วรรณคดีสมัยสุโขทัยที่มีอยู่ในปัจจุบันนับว่าเป็นเรื่องสำคัญมีอยู่ ๔ เรื่อง คือ ๑. ศิลาจารึกหลักที่ ๑ หรือจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ๒. สุภาษิตพระร่วง ๓. เตภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง หรือไตรภูมิพระร่วง ๔. นางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
ศิลาจารึกหลักที่ ๑(ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง)
ประวัติความเป็นมา
เมื่อราชวงศ์สุโขทัยได้สูญเสียอำนาจและกลายเป็นเมืองร้าง ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง และศิลาจารึกหลักอื่น ๆ ที่จารึกในยุคนั้นก็สาบสูญ ไปจากความทรงจำของชาวไทย จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ เมื่อพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังทรงดำรง พระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ และผนวชอยู่ที่วัดราชาธิวาสได้เสด็จธุดงค์เมืองเหนือ (ปีมะเส็ง เญจศก จุลศักราช ๑๑๙๓) ในระหว่างประทับอยู่ที่สุโขทัยได้ทรงพบศิลาจารึก และพระแท่นมนังศิลา ณ บริเวณเนินประสาทพระราชวังเก่าสุโขทัย ครั้นเมื่อจะเสด็จกลับก็โปรดเกล้าฯ ให้นำพระแท่น มนังคศิลา และศิลาจารึกกลับมาไว้ที่วัดสมอราย(ราชาธิวาส) ที่กรุงเทพฯ แล้วย้ายมาไว้ ที่วัดบวรนิเวศ เมื่อพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์จึงได้โปรดให้นำมาไว้ที่วิหารขาว วัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาในปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้นำศิลาจารึกนี้ไปรวมกับศิลาจารึกอื่นๆ ในหอสมุดแห่งชาติ ปัจจุบันนี้ อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ผู้แต่ง
มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงหลายท่าน และผู้ที่มีบทบาท สำคัญก็คือ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้าน ภาษาตะวันออก ได้ศึกษาศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง และได้จัดทำคำอ่านไว้อย่างละเอียด ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ศาสตราจารย์ฉ่ำ ทองคำวรรณ และผู้เชี่ยวชาญ ทางภาษาโบราณ อีกหลายคน ได้ศึกษาการอ่านคำจารึก และการตีความถ้อยคำในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร และศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ได้ศึกษาคำอ่านทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมขึ้นจากการสันนิษฐาน ผู้แต่งอาจมีมากกว่า ๑ คน เพราะเนื้อเรื่อง ในหลักศิลาจารึกแบ่งได้เป็น ๓ ตอน คือ
ตอนแรกกล่าวถึง พระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหง ใช้คำแทนชื่อว่า "กู" เข้าใจว่า พ่อขุนรามคำแหงคงจะทรงแต่งเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระองค์เอง ตอนที่ ๒ เป็นการบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ ใช้คำว่าพ่อขุนรามคำแหง โดยเริ่มต้นว่า "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหงเมืองสุโขทัยนี้ดี......" จึงเข้าใจว่าจะต้อง เป็นผู้อื่นแต่ง เพิ่มเติมภายหลัง ตอนที่ ๓ เป็นตอนยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง โดยเริ่มต้นว่า "พ่อขุนรามคำแหง นั้นหาเป็นท้าวเป็นพระยาแก่ไทยทั้งหลาย......" ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ สันนิษฐานว่าความ ในตอนที่ ๓ คงจารึกหลังตอนที่ ๑ และตอนที่ ๒ จึงเข้าใจว่าผู้อื่นแต่งต่อในภายหลัง
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
๑. เพื่อเป็นหลักฐานแสดงความเจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น เช่น หลักฐานการประดิษฐ์อักษรไทย เหตุการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนชี้แจงอาณาเขตของกรุงสุโข
๒. เพื่อสดุดีพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง
ลักษณะการแต่ง
แต่เป็นร้อยแก้ว ลักษณะเป็นประโยคสั้น ๆ กะทัดรัด และมีสัมผัสคล้องจองกันระหว่างวรรคบ้าง
เนื้อเรื่อง
เนื้อหาแบ่งออกเป็น ๓ ตอน คือ
ตอนที่ ๑ ตั้งแต่ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑ - ๑๘ เป็นพระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหง ตั้งแต่ประสูติ จนถึงเสด็จขึ้ครองราชย์ เนื้อเรื่องกล่าวถึงพระจริยวัตรที่พระองค์ทรงปฏิบัติต่อพระราชบิดา พระราชมารดา และพระเชษฐา
ตัวอย่างข้อความ
"พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง กูพี่น้องท้องเดียวกันห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงโสง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตรียมแต่ยังเล็ก"
"เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเราแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลากูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู"
ตอนที่ ๒ ตั้งแต่ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘ จนถึงด้านที่ ๔ บรรทัดที่ ๑๑ กล่าวถึงสภาพบ้านเมือง เหตุการณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเป็นอยู่ พระศาสนา การปกครอง ศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใน พ.ศ. ๑๘๒๖
ตัวอย่างข้อความ
"เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจัดใคร่ค้าเงินค้าทองค้าไพร่ฟ้าหน้าใส"
"คนเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักอวยทาน"
ตอนที่ ๓ ตั้งแต่ด้านที่ ๔ บรรทัดที่ ๑๒ จนถึงบรรทัดที่ ๒๗ (บรรทัดสุดท้าย) เป็นการยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตของกรุงสุโขทัย ตัวอย่างข้อความ
"ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้าน กลางเมือง มีถ้อย มีความ เจ็บท้องข้องใจ มักจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปสั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียกเมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยจึงชม"
คุณค่า
๑. ด้านภาษา จารึกของพ่อขุนรามคำแหงเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุด ที่แสดงให้เห็นถึงกำเนิดของวรรณคดีและอักษรไทย เช่น กล่าวถึงหลักฐานการประดิษฐ์อักษรไทย ด้านสำนวนการใช้ถ้อยคำในการเรียบเรียงจะเห็นว่า - ถ้อยคำส่วนมากเป้นคำพยางค์เดียวและเป็นคำไทยแท้ เช่น อ้าง โสง นาง เป็นต้น - มีคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตปนอยู่บ้าง เช่น ศรีอินทราทิตย์ ตรีบูร อรัญญิก ศรัทธา พรรษา เป็นต้น - ใช้ประโยคสั้น ๆ ให้ความหมายกระชับ เช่น แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง - ข้อความบางตอนใช้คำซ้ำ เช่น "ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ - นิยมคำคล้องจองในภาษาพูด ทำให้เกิดความไพเราะ เช่น "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบเอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย" - ใช้ภาษาที่เป็นถ้อยคำพื้น ๆ เป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน
๒. ด้านประวัติศาสตร์ ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหง จารึกไว้ทำนองเฉลิมพระเกียรติ ตลอดจนความรู้ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และสภาพสังคมของกรุงสุโขทัย ทำให้ผู้อ่านรู้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของกรุงสุโขทัย พระปรีชาสามารถของพ่อขุนรามคำแหง และสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสุโขทัย
๓. ด้านสังคม ให้ความรู้ด้านกฎหมายและการปกครองสมัยกรุงสุโขทัย ว่ามีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก พระมหากษัตริย์ดูแลทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด
๔. ด้านวัฒนธรรม ประเพณี ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของชาวสุโขทัยที่ปฏิสืบมาจนถึงปัจจุบัน เช่น การเคารพบูชาและเลี้ยงดูบิดามารดา นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึงประเพณีทางศาสนา เช่น การทอดกฐินเมื่อออกพรรษา ประเพณีการเล่นรื่นเริงมีการจุดเทียนเล่นไฟ พ่อขุนรามคำแหงโปรดให้ราษฎรทำบุญและฟังเทศน์ในวันพระ เช่น "คนเมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักอวยทาน.......ฝูงท่วยมีศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ทรงศีล เมื่อพรรษาทุกคน"
สุภาษิตพระร่วง
สมัยที่แต่งและผู้แต่ง
สุภาษิตพระร่วงหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บัญญัติพระร่วง เป็นวรรณกรรมที่ไม่ทราบ ผู้แต่ง และสมัยที่แต่งชัดเจน ซึ่งผู้ศึกษาวรรณคดีไทยให้ความเห็นไว้ ดังนี้ดร.สิทธา พินิจภูวดล ได้อ้างถึงผู้ศึกษาวรรณคดีหลายท่านที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับผู้แต่งสุภาษิตพระร่วง คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิษฐานว่า สุภาษิตนี้คงรวบรวมขึ้นในสมัย พ่อขุนรามคำแหง ผู้แต่งคงมีหลายคน และคงไม่ได้แต่งเสร็จ คราวเดียวกัน พระวรเวทย์พิสิฐ กล่าวว่า ผู้แต่งสุภาษิตพระร่วงคือพ่อขุนรามคำแหง เพราะลักษณะสำนวน ภาษาในสุภาษิตพระร่วงคล้ายคลึงกับสำนวนภาษาในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ลักษณะการสอน ของสุภาษิตนี้ก็สอดคล้องกับบุคลิกลักษณะของพ่อขุนรามคำแหง ที่ชอบเสด็จ ประทับ เหนือแท่นมนังคศิลาอาสน์ เพื่อทรงสอนประชาชน ดร.สิทธา ยังได้อ้างคุณฉันทิชย์ กระแสสินธ์ว่า ผู้แต่งสุภาษิตพระร่วงคือ พระยาลิไทย เพราะสมัยนั้นกรุงสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองสุดขีด ไม่มีสงคราม พระยาลิไทยทรงเชี่ยวชาญ พุทธศาสนา ได้ทรงนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วงขึ้นด้วย และอีกความเห็นหนึ่งกล่าวว่า คนรุ่นหลังแต่งสุภาษิตพระร่วงขึ้น และขอยืมชื่อ "พระร่วง" ใส่ไว้ เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ สุภาษิตพระร่วง มีปรากฏหลักฐานว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดให้จารึกสุภาษิตพระร่วงไว้บนผนังวิหารด้านเหนือพระมหาเจดีย์ที่วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อสั่งสอนประชาชนทั่วไป ในด้านการประพฤติปฏิบัติตน
ลักษณะคำประพันธ์
แต่งเป็นร่ายสุภาพ จบด้วยโคลงสองสุภาพและต่อด้วยโคลงสี่สุภาพกระทู้ ๑ บท
เนื้อเรื่อง
เริ่มด้วยการกล่าวถึงพระร่วงเจ้าผู้ครองกรุงกรุงสุโขทัย ทรงบัญญัติสุภาษิตเพื่อเป็นเครื่องเตือนสติประชาชน มีสุภาษิตทั้งหมด 158 บท ตัวอย่างสุภาษิต
ปางสมเด็จพระร่วงเจ้า เผ้าแผ่นภพสุโขทัย มลักเห็นในอนา จึ่งผายพจนประภาษ เป็นอนุสาสนกถา สอนคณานรชน ทั่วธราดลพึงเพียร เรียนอำรุงผดุงอาตม์ อย่าเคลื่อนคลาดคลาถ้อย เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ให้หาสินเมื่อใหญ่ อย่าใฝ่เอาทรัพย์ท่าน อย่าริระร่านแก่ความ ประพฤติตามบุรพรบอบ เอาแต่ชอบเสียผิด อย่าประกอบกิจเป็นพาล อย่าอวดหาญแก่เพื่อน เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า หน้าศึกอย่านอนใจ ไปเรือนท่านอย่านั่งนาน การเรือนตนเร่งคิด อย่านั่งชิดผู้ใหญ่ อย่าใฝ่สูงให้พ้นศักดิ์ ที่รักอย่าดูถูก ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง สร้างกุศลอย่ารู้โรย อย่าโดยคำคนพลอด เข็นเรือทอดข้างถนน เป็นคนอย่าทำใหญ ่ ข้าคนไพร่อย่าไฟฟุน คบขุนนางอย่าโหด โทษตนผิดรำพึง .................................................... และจบลงด้วยโคลงกระทู้ เพื่อบอกถึงที่มา ของสุภาษิตพระร่วง บัณ เจิดจำแนกแจ้ง พิศดาร ความเฮย ฑิต ยุบลบรรหาร เหตุไว้ พระ ปิ่นนัคราสถาน อุดรสุข ไทยนา ร่วง ราชนามนี้ได้ กล่าวถ้อยคำสอน
คุณค่า
๑. ด้านภาษา ใช้ถ้อยคำง่าย ๆ คล้องจอง กะทัดรัด ไม่มีศัพท์สูง จึงทำให้น่าอ่าน เพราะง่ายต่อการเข้าใจและจดจำ สำนวนโวหารคล้ายกันกับ ในหลักศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหง ๒. ด้านค่านิยมทางสังคม สุภาษิต สอนให้มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ส่งเสริมการศึกษา รู้จักประมาณตน ไม่โอ้อวด สร้างไมตรีไม่เบียดเบียนมิตร รักเกียรติและศักดิ์ศรีมากกว่าทรัพย์ เช่น
สอนการปฏิบัติตน ให้รู้จักระวังตน เช่น
"เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ให้หาสินเมื่อใหญ่" "เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า หน้าศึกอย่านอนใจ" "เดินทางอย่าเดินเปลี่ยว น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ"
สอนการปฏิบัติตนต่อมิตร เช่น
"อย่าควบกิจเป็นพาล อย่าอวดหาญแก่เพื่อน "อย่าขอของรักมิตร" อย่าเบียดเสียดแก่มิตร" "ยอมิตรยอลับหลัง"
สอนการปฏิบัติตนและเชื่อฟังผู้ใหญ่ เช่น
"อย่านั่งชิดผู้ใหญ่" "อย่าขัดแขงผู้ใหญ่ อย่าใฝ่ตนให้เกิน" "ผู้เฒ่าสั่งจงจำความ" "จงนบนอบผู้ใหญ่" "เจ้าเคียดอย่าเคียดตอบ"
สอนการปฏิบัติตนต่อศัตรู
"พบศัตรูปากปราศัย ความในอย่าไขเขา
สอนให้รักศักดิ์ศรีของตนเอง
"รักตนกว่ารักทรัพย์ อย่าได้รับของเข็ญ""สุวานขบอย่าขบตอบ" "สู้เสียศีลอย่าเสียสัตย์""ตระกูลตนจงคำนับ"
สอนให้รู้จักกตัญญูกตเวที เช่น
"เลี้ยงคนจักกินแรง" "ภักดีอย่าด่วนเคียด""อาสาเจ้าจนตาย อาสานายจนพอแรง""ภักดีจงอย่าเกียจ เจ้าเคียดอย่าเคียดตอบ"
สอนให้รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่คนอื่น เช่น
"ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง สร้างกุศอย่ารู้โรย"เป็นคนอย่าทำใหญ่ ข้าคนไพร่อย่าไฟฟุน""พึงผันเผื่อต่อญาติ" "ปลูกไมตรีทั่วชน""พรรคพวกพึงทำนุก" "คนจนอย่าดูถูก"
๔. ด้านอิทธิพลต่อวรรณดคีอื่น กวีรุ่นหลังนิยม นำข้อความบางตอน ไปแทรกไว้ใน วรรณคดีเรื่องต่าง ๆ เช่น ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ตอนนางพรหมณีบอกนางอมิตดาว่า "จะมารักเหากว่าผม จะมารักลมกว่าน้ำ หรือตอนพระเวสสันดร ตรัสต่อนางมัทรีว่า "เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า เป็นต้น
ไตรภูมิพระร่วง
ประวัติความเป็นมา
ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า "เตภูมิกถา" หรือ "ไตรภูมิพระร่วง" ต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "ไตรภูมิพระร่วง" เพื่อเฉลิมพระเกียรติแก่พระยาลิไท กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง ซึ่งเป็นผู้พระราชนิพนธ์ นับว่าเป็นหนังสือวรรณคดีเล่มแรกที่เกิดจากการค้นคว้าจากคัมภีร์พุทธศาสนาถึง ๓๐ คัมภีร์ และมีลักษณะเป็นหนังสือที่สมบูรณ์ คือ บอกชื่อ วัน เดือน ปี และความมุ่งหมายในการแต่งไว้อย่างครบถ้วน
ผู้แต่ง
พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท)
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
กล่าวไว้ในบานแพนกว่า "ใส่เพื่อขี้ไต้พระธรรม และจะใคร่เทศนาแก่พระมารดาท่าน "....ผู้ใดปรารถนาเถิงทิพยสมบัติปัตถโมกขนิพพาน ให้สดับพระไตรภูมิกถานี้ ด้วยทำนุบำรุง ด้วยใจศรัทธา" ดังนั้นจึงมีจุดมุ่งหมายในการแต่ง ๒ ประการ คือ ๑. เพื่อเทศโปรดพระมารดา เป็นการเจริญธรรมความกตัญญู ๒. เพื่อใช้สั่งสอนประชาชนให้มีคุณธรรม และเข้าใจพุทธศาสนา จะได้ช่วยดำรง พระพุทธศาสนาไว้ให้ยั่งยืน
ลักษณะคำประพันธ์
เป็นร้อยแก้ว แบบเทศนาโวหาร และพรรณนาโวหาร
เนื้อเรื่อง
เริ่มต้นบอกผู้แต่ง วัน เดือน ปี และความมุ่งหมายในการแต่ง หลักฐานประกอบการเรียบเรียง จากนั้นกล่าวถึงภูมิทั้งสาม (เตภูมิ) คือ ๑. กามภูมิ พรรณนาถึงที่อยู่ของมนุษย์ เทวดา และอื่น ๆ รวม ๑๑ ภูมิ ได้แก่ สวรรค์ ๖ ภูมิ มนุษย์ ๑ ภูมิ และอบาย ๔ ภูมิ กามภูมิเป็นที่กำเนิดของชีวิตทั้งหายที่ยังลุ่มหลงอยู่ในกาม มีแดนสุขสบายและแดนที่เป็นทุกข์ปะปนกัน ผู้ที่เกิดในภูมิต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นเพราะผลกรรมของตนเป็นใหญ่ ๒. รูปภูมิ หมายถึงที่อยู่ของพรหมมีรูปร่าง รวมทั้งหมด ๑๖ ชั้น เป็นแดนที่อยู่ของพรหม ซึ่งมีสมาธิ มีจิตสูงขึ้นไปโดยลำดับ ๓. อรูปภูมิ ได้แก่สวรรค์อันเป็นที่อยู่ของพรหมไม่มีรูปร่างมีแต่จิตใจเท่านั้น มี ๔ ชั้น หนังสือนี้กล่าวเริ่มตั้งแต่การกำเนิดของชีวิตต่าง ๆ ว่าเกิดขึ้นอย่างไร แล้วพรรณนาถิ่นที่เกิดคือภูมิต่าง ๆ ทั้ง ๓๑ อย่างละเอียด เช่น ตอนที่ว่าด้วยมนุษย์ภูมิ และะโลกสัณฐาน ได้เล่าอย่างละเอียดว่า ลักษณะของโลกเป็นอย่างไร ทวีปต่าง ๆ ภูเขา แม่น้ำ คน และสัตว์เป็นอย่างไร และจบลงด้วย การเน้นเรื่องทางไปถึงการดับทุกข์ คือนิพพานว่าเป็นจุดมุ่งหมายอันสูงสุดของชีวิต
คุณค่า
๑. ด้านศาสนา เป็นหนังสือสอนศีลธรรม เนื้อเรื่องกล่าวถึงบาปบุญคุณโทษ การเกิด การตาย เกี่ยวกับโลกทั้งสาม (ไตรภูมิ) ๒. ด้านภาษาและวรรณคดี ใช้พรรณนาโวหารอย่างละเอียดลออ จนทำให้นึกเห็นสมจริง ให้เห็นสภาพอันน่าสยองขวัญของนรก สภาพอันสุขสบายของสวรรค์ จนทำให้จิตรกรสามารถถ่ายทอดบทพรรณนานั้งลงเป็นภาพได้นอกจากนี้ยังมีอิทธิพล ต่อวรรณคดียุคหลังได้นำเอาความเชื่อต่าง ๆ มาอ้างอิงในวรรณคดีไทย เช่น ประวัติของเทวดา เขาพระสุเมรุ ช้างเอราวัณ ช้างทรงของพระอินทร์ ป่าหิมพานต์ เป็นต้น ๓. ด้านสังคม มุ่งใช้คุณธรรมความดี เป็นพื้นฐานการสร้างสรรค์ความสุขในสังคม
นางนพมาศ
เรื่องนางนพมาศ มีชื่อเรียกกันอยู่ ๓ ชื่อ คือ นพมาศ เรวดีนพมาศ และตำรับท้างศรีจุฬาลักษณ์
สมัยที่แต่ง
สันนิษฐานว่า แต่งในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท )
ผู้แต่ง
เชื่อกันว่าเป็นกวีหญิง ชื่อนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์พระสนมเอกของพระยาลิไท นางนพมาศ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นธิดาของพระศรีมโหสถ มารดาชื่อนางเรวดี ได้รับการสั่งสอนจากบิดา มีความรู้สูงในด้านภาษาไทย ภาษาสันสกฤต ศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ การแต่งคำประพันธ์ โหราศาสตร์ การขับร้องและการช่างสตรี มีความงามเลื่อลือทั้งคุณสมบัติดีเลิศ ต่อมาได้เป็นพระสนม เคยจัดดอกไม้ประดับขันหมากรับรองแขกเมือง ประดิษฐ์โคมลอยพระประทีป ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ตำแหน่งพระสนมเอก ด้านวรรณคดีเป็นผู้เขียนหนังสือนางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
กล่าวกันว่า นางนพมาสหรือท้างศรีจุฬาลักษณ์เขียนหนังสือเรื่องนี้ขึ้นเพื่อเล่าประวัติของตนเอง ในฐานะที่เป็นพระสนมเอกของพระร่วงเจ้า และเพื่อแสดงความเป็นมาของวัฒนธรรมและพิธีกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น นอกจากนั้นบรรดานิทานต่าง ๆ ที่แต่งแทรกยู่ในหนังสือเล่มนี้ล้วนเป็นนิทานที่ผู้แต่งยกมาประกอบการอบรมสั่งสอนผู้หญิงทั้งหลาย ให้อยู่ในความประพฤติที่ดีงาม จึงนับว่าเป็นวรรณคดีคำสอนเล่มหนึ่ง
ลักษณะคำประพันธ์
เป็นความเรียงทำนองชีวประวัติ มีคำประพันธ์ร้อยกรองแทรกบางตอนเป็นส่วนน้อย ได้แก่ โคลงสี่สุภาพและกลอนดอกสร้อย เป็นต้น
เนื้อเรื่อง
เนื้อหาแบ่งเป็น ๒ ตอน คือ ตอนที่ ๑ ว่าด้วยชีวประวัตินางนพมาศ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเข้ารับราชการฝ่ายใน ในราชสำนักของพระร่วงเจ้า และได้เลื่อนขึ้นเป็นพระสนมเอกในรัชกาลนั้น และกล่าวถึงพิธีต่าง ๆ ที่ปฏิบัติกันอยู่เป็นประเพณีตอด ๙ เดือน เช่า พิธีเผาข้าว พิธีจรดพระนังคัล พิธีวิสาขะ พิธีอาสวยุช (แข่งเรือ) พิธีจองเปรียงลอยพระประทีพ เป็นต้น ตอนที่ ๒ อาจถือเป็นภาคผนวก หรือเป็นตอนที่ผู้อื่นแต่งเติมเข้ามาก็ได้ เพราะมีนิทานต่าง ๆ แทรกอยู่หลายเรื่อง ซึ่งไม่ค่อยเกี่ยวกับเนื้อหาสาระเท่าใดนัก นิทานที่แทรกในหนังสือเล่มนี้ เป็นเรื่องนิทานสอนผู้หญิงในแง่ต่าง ๆ ให้เห็นลักษณะของการประพฤติชั่วว่ามีโทษอย่างไร และการทำดีมีผลสนองอย่างไร เช่น นิทานเรื่องนางนกกระต้อยตีวิดโลเล นางช้างแสนงอน นางนกกระเรียนคบนางนกไส้ช่างยุ เป็นต้น
คุณค่า
๑. ด้านวัฒนธรรม ทำให้รู้เรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีในพระราชสำนัก ได้แก่ ประเพณีลอยกระทง การปฏิบัติตัวของหญิงชาววัง เช่น ตำแหน่งหน้าที่ของนางนพมาศ และการศึกษาของเด็กไทยสมัยก่อน
สรุปวรรณคดีสมัยสุโขทัย
สรุปวรรณคดีสมัยสุโขทัย แยกออกได้ดังนี้
บรรณานุกรม
http://www.krupannee.net/wan1.html#prawat
http://www.krupannee.net/wan1.html#si
http://www.krupannee.net/wan1.html#su
http://www.krupannee.net/wan1.html#tri
http://www.krupannee.net/wan1.html#nop
http://www.krupannee.net/wan1.html#sarup